【วัฒนธรรมญี่ปุ่น】วันที่ 16 พฤษภาคมคือวันอะไร? สรุปถึงที่มาและกิจกรรมของ "วันแห่งการเดินทาง"

Travel Day Anniversary Historical Figures Japanese Culture

ในปัจจุบัน โลกเป็นอย่างที่คุณสามารถรับข้อมูลมากมายที่คุณต้องการผ่านทางอินเทอร์เน็ต แต่แม้กระนั้น ความสุขที่แท้จริงของการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงการใช้เวลาเดินทางไปยังสถานที่จริง สัมผัสกับอากาศและวัฒนธรรม และรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะสาบสูญไปได้ง่ายๆ ค่ะ

การระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมากำลังแสดงสัญญาณว่าจะสงบลงในประเทศญี่ปุ่น และบรรยากาศที่เรียกว่า "การกักตัว" ในประเทศญี่ปุ่นก็กำลังเข้าสู่จุดสิ้นสุดค่ะ ตามสถานที่ท่องเที่ยวทั่วประเทศก็เริ่มมีความแออัดของนักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างมากเหมือนกับก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 แล้วค่ะ หากมีเวลาและความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ ก็คงจะมีหลายคนที่ต้องการไปเที่ยวทั่วญี่ปุ่นเหมือนก่อนกันค่ะ ในบทความนี้ เราจะแนะนำวันพิเศษที่เกี่ยวข้องกับ "การเดินทาง" ในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับที่มาของวันนี้ค่ะ

ภูมิหลังของการจัดตั้ง "วันแห่งการเดินทาง" ของญี่ปุ่น: การเดินทางและ "โอคุโนะโฮโซมิจิ"

ในประเทศญี่ปุ่น วันพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง "วันแห่งการเดินทาง" (旅の日 / Tabi no Hi) ถูกกำหนดในวันที่ 16 พฤษภาคม เราขอมาแนะนำเบื้องหลังการจัดตั้งวันพิเศษนี้และ "การเดินทาง" ที่อาจจะเป็นการเดินทางที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่มาของวันแห่งการเดินทางกันค่ะ

เบื้องหลังการจัดตั้ง "วันแห่งการเดินทาง"

วันท่องเที่ยว ตัวละครประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมญี่ปุ่น วันครบรอบ

"วันแห่งการเดินทาง" นี้ได้รับการเสนอในปี ค.ศ. 1988 โดยองค์กรที่ชื่อว่า Japan Travel Pen Club ด้วยจุดประสงค์ "ทบทวนความหมายของการเดินทางและคำถามชวนคิดที่ว่านักเดินทางคืออะไร" องค์กรนี้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1962 มุ่งมั่นที่จะ "ปรับปรุงวัฒนธรรมการเดินทาง การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นผ่านการประชุมแถลงข่าวและข้อเสนอเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว" มีสมาชิกที่ประกอบด้วยนักข่าวท่องเที่ยว นักเขียน นักเขียนบนเว็บ บรรณาธิการ นักประพันธ์ กวี ช่างภาพ ศิลปิน ดีเจวิทยุ ทนายความ สถาปนิก ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย ฯลฯ และสหายร่วมอุดมการณ์อย่างเจ้าของโรงแรม ผู้ถือกรรมสิทธิ์บ้านพัก และเจ้าของร้านอาหาร เป็นต้นค่ะ

แล้วทำไม "วันแห่งการเดินทาง" ถึงถูกกำหนดในวันที่ 16 พฤษภาคม? ในความเป็นจริง ในวันนี้ในปี 1869 (27 เดือน 3 ในปฏิทินจันทรคติแบบจีน) มัตสึโอะ บาโช ได้ออกเดินทางจากเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) ไปตามการเดินทางที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขา "โอคุโนะโฮโซมิจิ" นั่นเองค่ะ

มัตสึโอะ บาโช และ "โอคุโนะโฮโซมิจิ"

วันท่องเที่ยว วัฒนธรรมญี่ปุ่น ทางแคบไปยังภาคเหนือที่ลึกลับ จังหวัดมิยางิ มัตสึชิมะ
มัตสึชิมะในจังหวัดมิยางิ

บุคคลผู้มีนามว่า มัตสึโอะ บาโช เป็นกวีไฮไคที่มีชีวิตอยู่ในสมัยเอโด (1603-1868) เกิดในปี 1644 ณ ที่ที่ปัจจุบันเรียกกันว่าอำเภออิงะ จังหวัดมิเอะ บาโชได้พบกับ "ไฮไค" ในวัย 19 ปี และกล่าวกันว่าเขากลายเป็นปรมาจารย์แห่งไฮไคในวัย 35 ปี (หากยึดตามการแบ่งหมวดหมู่อย่างเคร่งครัด "ไฮไค" นั้นต่างจากบทกวีที่เรียกว่า "ไฮกุ" ที่ถูกจัดตั้งขึ้นหลังเข้าสมัยเมจิ แต่เราจะไม่ไปลงรายละเอียดเกี่ยวกับความแตกต่างในบทความนี้) บาโชถูกกล่าวว่าได้แต่งกวีประมาณ 1000 บทในช่วงชีวิต และในปีหลังๆ เขาได้รับการเรียกว่า "ไฮโช" ซึ่งหมายถึง "กวีไฮไคที่หาใครเทียบไม่ได้"

บาโชได้เดินทางไปทั่วจังหวัดต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น และแต่งบทกวีสำหรับแต่ละสถานที่ ในปี 1689 บาโชเริ่มการเดินทางจากโทโฮคุไปยังโฮคุริคุพร้อมกับลูกศิษย์ บันทึกการเดินทางที่เขียนขึ้นจากการเดินทางนี้ก็คือ "โอคุโนะโฮโซมิจิ" (おくのほそ道 / Oku no Hosomichi - ถนนเส้นเล็กสู่เบื้องลึก) ซึ่งได้มีการเผยแพร่บทกวีไว้ 50 บทค่ะ

"โอคุโนะโฮโซมิจิ" เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวดังต่อไปนี้: "Tsukihhi wa hyakudai no kakaku ni shite, ikikafu toshi mo mata tabibito nari (วันเวลาคือนักเดินทางที่รอนแรมไปไร้ที่สิ้นสุด ปีที่ผ่านไปแล้วก็เป็นนักเดินทางเช่นกัน)" คำพูดกับตัวเองของบาโชที่เปรียบเทียบเวลาที่ผ่านไปเป็น "นักเดินทาง" นั้นก็จับเอาความรู้สึกที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นสาระสำคัญของการเดินทางรูปแบบหนึ่ง เป็นประโยคที่ชวนให้นึกเสียว่าการเดินทางของเขาถูกยกให้เป็นต้นฉบับของวันแห่งการเดินทางเลยนะคะ

ในทางกลับกัน การเดินทางของบาโชที่เริ่มต้นจากเอโดะและเดินทางไปทั่วภูมิภาคโทโฮคุและโฮคุริคุนั้น สิ้นสุดลงที่โองากิซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดกิฟุในปัจจุบัน ในระหว่างการเดินทาง เขาได้เยี่ยมชมสถานที่ที่ยังคงเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น นิกโก้ในจังหวัดโทจิงิ มัตสึชิมะในจังหวัดมิยางิ และ ฮิราอิซุมิในจังหวัดอิวาเตะค่ะ ที่ฮิราอิซุมิ เขาได้พรรญาถึงการขึ้นสู่อำนาจและล่มสลายของตระกูลฟูจิวาระสายโอชูที่เคยปกครองดินแดนนี้ และแต่งวรรคขึ้นชื่อที่ว่า "หญ้าฤดูร้อน ซากความฝันของไพร่พล" (夏草や兵どもが夢の跡 / Natsukusa ya tsuwamono-domo ga yume no ato) ซึ่งคนญี่ปุ่นหลายคนรู้จัก

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ "วันแห่งการเดินทาง"

วันท่องเที่ยว งานวัฒนธรรมญี่ปุ่น

ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ ยังไม่สามารถยืนยันกิจกรรมทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับ "วันแห่งการเดินทาง" ได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม มีกิจกรรมที่จัดโดย Japan Travel Pen Club องค์กรที่เสนอ "วันแห่งการเดินทาง" ให้ตรงกับวันนี้อยู่ค่ะ

ทุกปี Japan Travel Pen Club จัดการประชุม "วันแห่งการเดินทาง" ในวันที่ 16 พฤษภาคมที่ตรงกับวันพิเศษนี้ มีการประกาศและมอบรางวัล "Travel Day" Senryu Grand Prize และ "Japan Travel Pen Club Award" ค่ะ

"Travel Day" Senryu ซึ่ง "เฟ้นหาการแพร่กระจายตัวของวัฒนธรรมการเดินทาง" เป็นกลอนเซ็นริวที่มีธีมเกี่ยวกับ "การเดินทาง" ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าร่วมได้ตั้งแต่ปี 2009 กลอนเซ็นริวเป็นบทกวีที่อ่านด้วยจังหวะที่แบ่งออกเป็นสามส่วน: 5 ตัวอักษร 7 ตัวอักษร และ 5 ตัวอักษร รวมทั้งหมด 17 ตัวอักษร ในการประกวด "15th 'Travel Day' Senryu" ในปี 2023 มีผลงานที่ถูกส่งเข้ามา 4,457 ชิ้น โดยมีผู้ส่งเข้าร่วม 1,702 คน รางวัลใหญ่ได้แก่กลอนที่ว่า "Tabi no kiro / Hougen katakoto / Tsuitekita (หมายความว่า: ขากลับการเดินทาง ภาษาถิ่นงูๆ ปลาๆ ติดตัวกลับมาด้วย)" และรางวัลชนะเลิศได้แก่ผลงาน "Hashagu tomo / Shiranai machi de / Shiru sugao (หมายความว่า: ณ เมืองที่แปลกตา ใบหน้าสหายที่ตื่นเต้น ได้เห็นเป็นครั้งแรก)"

ส่วน "Japan Travel Pen Club Award" เป็นรางวัล "ที่มอบให้แก่องค์กร บุคคล และหน่วยงานบริหารที่ได้รับการยอมรับว่ามีส่วนร่วมในการปรับปรุงวัฒนธรรมการเดินทาง" และจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลท้องถิ่นและสมาคมการท่องเที่ยวภูมิภาคทั่วประเทศก็ได้รับรางวัลนี้กันค่ะ

วรรณกรรมญี่ปุ่นคลาสสิกเกี่ยวกับ 'การเดินทาง'

วันท่องเที่ยววัฒนธรรมญี่ปุ่น ภูเขาไฟฟูจิ โทไคโดชิงคังเซ็น
โทไคโดชิงคังเซ็นและภูเขาไฟฟูจิ

จนถึงตอนนี้ เราได้ดูข้อมูลเกี่ยวกับ "วันแห่งการเดินทาง" และ "โอคุโนะโฮโซมิจิ" ของมัตสึโอะ บาโช ซึ่งเป็นที่มาของวันพิเศษนี้ไปแล้วนะคะ สุดท้าย เราจะขอมาแนะนำผลงานคลาสสิก 2 ชิ้นที่เป็นวรรณกรรมญี่ปุ่นที่มีธีมเกี่ยวกับ "การเดินทาง" ค่ะ

ผลงานแรกที่จะแนะนำคือ "Tosa Nikki" (土佐日記 - บันทึกโทสะ) โดย คิ โนะ สึรายุกิ (紀貫之 / Ki no Tsurayuki) แห่งสมัยเฮอัน (794-1185) บรรทัดแรกที่กล่าวว่า "บันทึกประจำวันเป็นสิ่งที่ผู้ชายเขียน แต่ตัวฉันจะลองเขียนในฐานะผู้หญิงดูด้วย" นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่คนรักวรรณกรรมญี่ปุ่น ผลงานนี้ถูกกล่าวว่ามีที่มาจากการเดินทางของเจ้าของผลงาน คิ โนะ สึรายุกิ ที่เสร็จสิ้นการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการในแคว้นโทสะ (ปัจจุบันคือจังหวัดโคจิ) และกำลังกลับไปที่เมืองหลวงเฮอันเคียว (ปัจจุบันคืออำเภอเกียวโต กรุงเกียวโต)

ผลงานตอ่ไปที่เราจะแนะนำคือ "Tokaidochu Hizakurige" (東海道中膝栗毛) นวนิยายยอดนิยมแห่งสมัยเอโดะโดย จิปเป็นฉะ อิคคุ (十返舎一九 / Jippensha Ikku) นี่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางของสองตัวละครหลัก "Yaji-san" และ "Kita-san" ที่เดินทางไปทางตะวันตกจากเอโดะ (โตเกียว) ตามทางหลวงข้ามจังหวัดโทไคโดเพื่อที่จะไปเยี่ยมเยือนศาลเจ้าอิเสะในอำเภออิเสะ จังหวัดมิเอะ เรื่องราวนั้นเป็นลำดับเหตุการณ์มากมายไม่ธรรมดาที่ทั้งสองคนนี้ไปก่อเรื่องไว้หรือไปพัวพันกับเหตุการณ์ในสถานที่ต่างๆ และดูเหมือนว่าจะเป็นผลงานที่ได้รับความนิยมในสมัยเอโดะมากจนมีการออกภาคต่อ "Ise Moude" (伊勢詣で) เลยค่ะ

หากไปเที่ยวญี่ปุ่น คุณจะไปที่ไหน?

ถึงจุดนี้ เราก็ได้นำเสนอหัวข้อทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ "วันแห่งการเดินทาง" และการเดินทางต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นไปแล้วนะคะ หลังจากช่วงหยุดยาวโกลเด้นวีคของญี่ปุ่น ฤดูก่อนฤดูฝนเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง สภาพภูมิอากาศในญี่ปุ่นยังคงสบาย ถ้าคุณกำลังวางแผนท่องเที่ยวไปญี่ปุ่นครั้งถัดไป อาจจะเป็นความคิดที่ดีที่จะเริ่ม "การเดินทาง" ไปยังสถานที่ที่คุณอยากรู้แต่ยังไม่มีโอกาสไปเยี่ยมชม หรือไปยังเมืองของคนรู้จักที่ไม่ได้พบหน้ากันมานานนะคะ

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend