ซีรีส์อาหารท้องถิ่นทำเอง ⑤: ยามากาตะ: อิโมนิ

  • 18 มกราคม 2023
  • Pauli
  • Mon

ซีรีส์อาหารท้องถิ่นทำเอง ⑤: ยามากาตะ: อิโมนิ

สูตรอาหารท้องถิ่นที่เราจะมาแนะนำกันในครั้งนี้ก็คือ อิโมนิ (芋煮 / imoni) จากจังหวัดยามากาตะค่ะ ประเภทของมันที่ใช้คือซาโตอิโมะ (เผือกญี่ปุ่น) สามารถหาวัตถุดิบได้ง่ายและสูตรก็ง่ายจนลองทำได้ง่าย ๆ จึงแนะนำค่ะ! มารับประทานอิโมนิแสนอร่อยและเพลิดเพลินไปกับความรู้สึกเหมือนได้เดินทางไปยามากาตะจากโต๊ะอาหารของคุณกันดูนะคะ

อาหารท้องถิ่นของญี่ปุ่น คืออะไร?

อาหารท้องถิ่น (郷土料理 / Kyodo-ryori) เป็นอาหารที่ผู้คนบริโภคกันในพื้นที่มานานนับแรมปี มักทำจากผลิตภัณฑ์ของแต่ละภูมิภาคโดยใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ทำให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของพื้นที่นั้น ๆ ค่ะ นอกจากนี้ยังเป็นอาหารประจำวันของคนญี่ปุ่นและเป็นที่นิยมในหมู่คนญี่ปุ่นที่ออกทริปชิมอาหารภายในประเทศด้วยค่ะ

ประวัติและความเป็นมาของอิโมนิ

ประวัติและความเป็นมาของอิโมนิ

ต้นกำเนิดของ "อิโมนิ" นั้นเก่าแก่ และว่ากันว่าอยู่ในช่วงกลางปี ​​1600 ในเวลานั้น พื้นที่แถบนางาซากิในเมืองนากายามะมาจิ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นจุดปลายทางของการขนส่งทางเรือในแม่น้ำโมกามิ เป็นสถานที่ที่รวบรวมสินค้าที่นำมาจากคามิกาตะ (แถบเมืองหลวงเกียวโต) ผ่านทางซากาตะที่อยู่ปลายแม่น้ำ อย่างไรก็ตาม ในสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือสื่อสารเพื่อแจ้งการมาถึงของเรือสินค้า และบางครั้ง คนประจำเรือก็จำเป็นต้องรอเป็นเวลาหลายวัน จนกว่าผู้รับสินค้าจะปรากฏตัว และระหว่างที่รออยู่นั้นก็มีการล้อมวงรอบหม้อไฟที่ริมแม่น้ำเพื่อรับประทานอาหารกันค่ะ ใกล้ ๆ ท่าเรือนี้ก็มีหมู่บ้านโอชิโอะซึ่งเป็นพื้นที่ผลิตเผือกที่มีชื่อเสียง กล่าวกันว่า การนำเผือกที่หาได้กับวัตถุดิบอื่น ๆ เช่นปลาคอดปากแห้งที่มากับสินค้ามาต้มในหม้อกินันก็ได้กลายเป็นพื้นฐานของ "อิโมนิ" ในปัจจุบันค่ะ อนึ่ง กล่าวกันว่าเนื้อวัวถูกเริ่มนำมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งแต่ต้นสมัยโชวะเป็นต้นมาค่ะ

ลักษณะเฉพาะของอิโมนิ

"อิโมนิ" เป็นอาหารหม้อไฟที่มีเผือกเป็นส่วนประกอบหลัก และมีคอนเนียคุ ต้นหอม เห็ด หญ้าเจ้าชู้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ เป็นส่วนผสม เป็นอาหารท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดยามากาตะค่ะ

“อิโมนิ” มักจะรับประทานตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงจนถึงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเก็บเกี่ยวเผือกซาโตอิโมะค่ะ นอกจากใน "อิโมนิไค" (芋煮会 / Imoni-kai - ปาร์ตี้อิโมนิ) ที่ผู้คนนำหม้อและส่วนผสมไปที่ริมฝั่งแม่น้ำเพื่อทำอิโมนิกับครอบครัวและเพื่อนๆ หรือที่ใดที่หนึ่งกลางแจ้งหลังจากเล่นกีฬาหรืองานชุมชนแล้ว ก็มักจะทำและรับประทานเป็นอาหารตามบ้านด้วย ในจังหวัดยามากาตะ "อิโมนิไค" เป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำปีเทียบเคียงได้กับงานเลี้ยงปีใหม่และงานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าเลยค่ะ ดังนั้นสำหรับชาวจังหวัดยามากาตะ "อิโมนิ" จึงเป็นอาหารท้องถิ่นที่ขาดไม่ได้ในการสังสรรค์กับครอบครัวและเพื่อนฝูงค่ะ

จากนั้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ความน่าดึงดูดใจของ "อิโมนิไค" ซึ่งมักจะจัดขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงถึงต้นฤดูหนาวให้เป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งประเทศ งานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฤดูใบไม้ร่วง "เทศกาลอิโมนิไคที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น" (日本一の芋煮会フェスティバル / Nihon-ichi no Imoni-kai - หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'เทศกาลอิโมนิที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น') ซึ่งเริ่มต้นด้วยสโลแกน "มาทำอิโมนิไคในหม้อที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นกันเถอะ" ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นค่ะ นับตั้งแต่งานในปี 1989 ก็ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนกันยายน และในปี 2018 ก็มีการจัดระดมทุนเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลครบรอบ 30 ปี ทางผู้จัดงานได้ขอความร่วมมือจากทั่วประเทศ และ "หม้อยักษ์รุ่นที่สาม - นาเบทาโร่" (鍋太郎 / Nabetarou) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5 เมตรก็ได้ถือกำเนิดขึ้นค่ะ!

หม้อยักษ์รุ่นที่สามนาเบทาโร่นี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ทั้งในแง่ของอุปกรณ์และวิธีการทำอาหารค่ะ! การปรุงส่วนผสมสำหรับ 30,000 ที่ในคราวเดียวโดยใช้ "รถเครนเคลื่อนที่ / รถแบคโฮ" ที่มักใช้ตามสถานที่ก่อสร้างถือเป็นอิโมนิไคที่คู่ควรแก่การขนานนามว่า "ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น" เลยค่ะ หากมีโอกาส อย่าลืมมาที่ยามากาตะและเยี่ยมชมอิโมนิไคที่มีชีวิตชีวานี้ในขณะที่เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ของฤดูใบไม้ร่วงประมาณกลางเดือนกันยายนกันนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง:

วิธีทำอิโมนิ

จากนี้ไปเราจะมาดูวิธีการทำอิโมนิกันค่ะ

วัตถุดิบสำหรับอิโมนิ (สำหรับ 4 ที่)

วัตถุดิบสำหรับอิโมนิ (สำหรับ 4 ที่)

วัตถุดิบ (สำหรับ 4 ที่)

  • เผือกซาโตอิโมะ 300 ก.
  • บุก (คอนเนียคุ) 100 ก.
  • ต้นหอมยาวเนกิ 1 ต้น
  • เนื้อสับ 300 ก.
  • น้ำ 800 มล.

เครื่องปรุงรส

  • น้ำตาล 30 ก.
  • ซอสถั่วเหลือง (โชยุ) 50 มล.
  • สาเก 20 มล.

วิธีทำอิโมนิพร้อมวิดีโอ

  1. หั่นขั้วและปลายเผือกทิ้ง ปลอกเปลือกออก หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ
  2. หั่นต้นหอมเนกิตามแนวทแยงมุมเป็นชิ้นกว้างประมาณ 1 ซม. ใช้ช้อนตัดคอนเนียคุเป็นชิ้นขนาดพอดีคำ
  3. ใส่น้ำ วัตถุดิบจากขั้นตอนที่ 1 และเครื่องปรุงรสปริมาณอย่างละครึ่งจากที่เตรียมไว้ลงในหม้อแล้วตั้งไฟปานกลาง
  4. เมื่อเผือกสุกใส่วัตถุดิบจากขั้นตอนที่ 2 และเนื้อสับลงไป
  5. เมื่อเนื้อสับสุกแล้ว ให้ตักเอาคราบมันออก
  6. ใส่เครื่องปรุงรสที่เหลือและเคี่ยวต่อไปอีกประมาณ 5 นาทีโดยใช้ไฟปานกลาง จากนั้นนำลงจากเตา
  7. จัดใส่ชามเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend