เคล็ดลับออมเงินในญี่ปุ่น -ตอนการชีวิตประจำวัน-: โตเกียว เมืองที่ค่าครองชีพสูง

  • 20 มิถุนายน 2022
  • Shiori
  • Mon

เคล็ดลับออมเงินในญี่ปุ่น -ตอนการชีวิตประจำวัน-: โตเกียว เมืองที่ค่าครองชีพสูง

แพง! ทุกอย่างแพงไปหมด! นี่คือสิ่งที่ดิฉันคิดทุกครั้งที่ไปซูเปอร์มาร์เก็ตในช่วงนี้ค่ะ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ราคาของผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ในญี่ปุ่นได้แพงขึ้น ภาพด้านบนเป็นตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารญี่ปุ่นที่ขึ้นราคาเมื่อไม่นานมานี้ค่ะ มีผลิตภัณฑ์ที่แม้แต่ชาวต่างชาติก็อาจรู้จักอย่างเช่นขนมหวานและบะหมี่ถ้วยกึ่งสำเร็จรูปเป็นต้นด้วยค่ะ

ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่สิ่งเดียวที่ขึ้นราคาค่ะ ตัวอย่างเช่นในด้านอสังหาริมทรัพย์ ราคาเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมที่สร้างขึ้นใหม่ในเขตมหานครและปริมณฑล (โตเกียว ชิบะ คานากาว่า ไซตามะ) (ข้อมูลปีงบประมาณ 2021) ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (63.6 ล้านเยน)

ค่าโดยสารรถไฟที่ขาดไม่ได้สำหรับการเดินทางภายในโตเกียวก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน JR East วางแผนที่จะขึ้นค่าโดยสารสำหรับบางเส้นทาง รวมทั้งสาย Yamanote โดยจะขึ้น 10 เยน ตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม 2023 ค่ะ

การขึ้นราคาผลิตภัณฑ์อาหารและค่าโดยสารรถไฟคงไม่ใช่เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติที่มาเยือนญี่ปุ่นแล้วค่ะ แล้วเราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อประหยัดเงินเพียงเล็กน้อยระหว่างที่อยู่ที่ญี่ปุ่น? วันนี้ดิฉันขอมาแนะนำวิธีการออมเงินที่คนญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในโตเกียว สถานที่ซึ่งมีค่าครองชีพสูง ใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวันกันค่ะ

"โทเมียว" วัตถุดิบที่คนญี่ปุ่นชอบในการประหยัดค่าอาหาร

โทเมียว วัตถุดิบที่คนญี่ปุ่นชอบในการประหยัดค่าอาหาร

มีวัตถุดิบที่เป็นที่นิยมมากสำหรับคนญี่ปุ่นที่ต้องการประหยัดค่าอาหารค่ะ ซึ่งก็คือ โทเมียว (豆苗 / Tomyo ต้นอ่อนถั่วลันเตา) ค่ะ โทเมียวเป็นต้นถั่วที่งอกจากเมล็ดถั่วลันเตา สามารถนำไปผัด ใส่ซุป และใช้ในอาหารได้หลากหลาย ต้นอ่อนถั่วลันเตามีรสชาติที่ให้ความสดชื่น เคี้ยวกรอบและหนึบ และดีต่อสุขภาพค่ะ

ต้นอ่อนถั่วลันเตามีจำหน่ายที่ซูเปอร์มาร์เก็ตในราคาเพียง 100 เยนเท่านั้นค่ะ และนอกจากจะราคาถูกแล้ว ต้นอ่อนถั่วลันเตายังมีเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งอีกด้วย นั่นก็คือ…

โทเมียว วัตถุดิบที่คนญี่ปุ่นชอบในการประหยัดค่าอาหาร

แม้จะตัดต้นออกไปแล้วครั้งนึง มันก็จะงอกขึ้นใหม่ได้ค่ะ!

การปลูกต้นอ่อนถั่วลันเตานั้นก็ง่ายมาก เพียงคุณมีน้ำและภาชนะสำหรับปลูก เพียงแค่แช่ถั่วงอกในน้ำแล้วทิ้งไว้ในที่สว่าง มันก็จะเติบโตอย่างต่อเนื่องเองค่ะ ขนาดดิฉันที่ไม่เก่งเรื่องการปลูกพืชก็ยังปลูกได้เลยค่ะ เมื่อต้นอ่อนโตก็ให้ตัดอีกครั้งแล้วนำไปประกอบอาหารค่ะ

ในญี่ปุ่น เมื่อราคาผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารสูงขึ้น ผู้คนก็หันมาซื้อต้นอ่อนถั่วลันเตากันมากขึ้น และอาจขายหมดในซูเปอร์มาร์เก็ตเอาได้เลยค่ะ

หากคุณวางแผนที่จะอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลานาน ลองปลูกต้นอ่อนถั่วลันเตาดูนะคะ อนึ่ง หากตัดและเพาะซ้ำหลายครั้ง เชื้อราอาจขึ้นบนต้นอ่อนได้ ดังนั้นการเก็บเกี่ยวควรจำกัดเพียง 2 ครั้งเท่านั้นจะดีที่สุดค่ะ

หากอยู่ห่างไปไม่กี่สถานี ไม่ต้องใช้รถไฟแล้วเดินไปดีกว่า

เทคนิคการออมที่ดิฉันใช้เป็นประจำในโตเกียวก็คือ การเดินแทนการขึ้นรถไฟค่ะ

ในโตเกียว รถไฟบางเส้นอาจออกจากสถานีและไปถึงสถานีถัดไปภายในเวลาเพียง 2 นาที กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ระยะห่างระหว่างสถานีนั้นสั้นมากค่ะ

หากอยู่ห่างไปไม่กี่สถานี ไม่ต้องใช้รถไฟแล้วเดินไปดีกว่า

ตัวอย่างเช่น สถานี Yoyogi ใช้เวลาเดินประมาณ 10 นาทีจากสถานี Shinjuku บนสาย Yamanote นอกจากนี้ ยังใช้เวลาประมาณ 20 นาทีในการเดินจากสถานี Yoyogi ไปยังสถานี Harajuku ค่ะ 20 นาทีอาจฟังดูไกลไปหน่อย แต่เมื่อคุณเดินทางจากสถานี Yoyogi ไปยังสถานี Harajuku คุณจะผ่านพื้นที่เขียวขจีที่สวยงามของศาลเจ้าเมจิจิงกู ดังนั้นคุณจะเดินเพลินจนมาถึงโดยไม่รู้ตัวค่ะ จากชินจูกุไปฮาราจูกุโดยรถไฟมีค่าโดยสาร 136 เยน แต่ถ้าเดินก็จะเหลือแค่ 0 เยน! เงินออมที่ได้จะเอาไปซื้ออะไรดีคะ?

หากอยู่ห่างไปไม่กี่สถานี ไม่ต้องใช้รถไฟแล้วเดินไปดีกว่า

การเดินสำรวจย่านยอดนิยมของโตเกียวนั้นก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ค่ะ ในวันหยุดที่อากาศดี ๆ ดิฉันก็มักจะเดินจากชินจูกุ → โยโยงิ → ฮาราจูกุ → โอโมเตะซันโดะ → รปปงหงิค่ะ ระยะทางประมาณ 4.5 กม. แต่ทว่า

หากคุณเดินในขณะที่เพลิดเพลินกับบรรยากาศที่เปลี่ยนไปตามย่านต่าง ๆ คุณจะไม่เบื่อเลยค่ะ เสน่ห์อีกอย่างของการเดินก็คือคุณจะได้พบกับร้านค้าและร้านกาแฟดี ๆ ที่เรียงรายอยู่ในตรอกเล็ก ๆ ด้วยค่ะ

สิ่งหนึ่งที่ควรทราบคือสามารถใช้ได้เฉพาะกับในใจกลางโตเกียวเท่านั้นค่ะ ในเขตชานเมืองและภูมิภาคต่าง ๆ ของโตเกียว ระยะห่างระหว่างสถานีจะไกลมาก จึงไม่แนะนำให้เดินค่ะ นอกจากนี้ แม้แต่ในโตเกียว ตอนกลางคืนก็ควรขึ้นรถไฟแทนการเดินเพื่อความปลอดภัยค่ะ

แทนที่จะจ่าย 1,000 เยน ตามร้านราเม็งชื่อดัง...

แทนที่จะจ่าย 1,000 เยน ตามร้านราเม็งชื่อดัง...

ในญี่ปุ่นมีร้านราเม็งอร่อย ๆ มากมาย ซุปสูตรทงคตสึ (ซุปกระดูกหมู) สูตรเกลือ สูตรมิโสะ สูตรโชยุ... ลักษณะของราเม็งนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละร้านค่ะ เมื่อคุณมาญี่ปุ่น คุณอาจอยากจะลองเปรียบเทียบรสชาติราเม็งประเภทต่าง ๆ ดูสินะคะ

อย่างไรก็ตาม ที่ร้านราเม็งชื่อดังเหล่านี้ ราคาราเมนหนึ่งชามอยู่ที่ประมาณ 1,000 เยน หากคุณเพิ่มท็อปปิ้งเช่นไข่และหมูย่างชาชู ราคาจะเข้าใกล้ 1,500 เยนเลยค่ะ

ดิฉันเลยอยากแนะนำให้มาลองสินค้าตามร้านสะดวกที่อยู่ซื้อภายใต้การดูแลโดยร้านราเม็งชื่อดังแทนค่ะ

แทนที่จะจ่าย 1,000 เยน ตามร้านราเม็งชื่อดัง...

ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นกำลังวางขายสินค้าที่ผลิตร่วมกับร้านราเม็งชื่อดังทั่วประเทศกันค่ะ ภาพข้างบนเป็นทั้งสินค้าที่ 7-Eleven ร่วมมือกับร้านดังค่ะ ด้านขวาเป็นราเม็งที่ร่วมงานกับซันโตกะ (山頭火 / Santoka) และด้านซ้ายเป็นข้าวที่ร่วมงานกับนากาโมโตะ (中本) ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องราเม็งรสเผ็ด ราคาเพียง 300 เยน และ 257 เยน ตามลำดับค่ะ

ราเม็งที่คุณกินที่ร้านนั้นก็มีรสชาติอร่อย แต่ถ้าคุณต้องการประหยัดค่าอาหารสักเล็กน้อย ลองผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการร่วมมือกันแบบนี้ดูแทนได้ค่ะ รสชาติและปริมาณก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจด้วยค่ะ

อย่าลืมถุงส่วนตัว

อย่าลืมถุงส่วนตัว

ในญี่ปุ่น นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2020 ก็ได้มีการคิดค่าถุงพลาสติกตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อค่ะ จุดประสงค์ของการคิดค่าถุงก็คือเพื่อป้องกันมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก ความพยายามดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในประเทศของคุณแล้วเช่นกันค่ะ

ในญี่ปุ่น ราคาต่อถุงพลาสติกจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับร้านค้า แต่จะอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง 5 เยน บางคนอาจจะคิดว่าก็แค่ 5 เยนเอง แต่ที่ญี่ปุ่นมีคำกล่าวว่า "ถ้าฝุ่นกองรวมกันเยอะ ๆ ก็กลายเป็นภูเขาได้" (塵も積もれば山となる) ปัจจุบันนี้ เป็นเรื่องปกติที่คนญี่ปุ่นจำนวนมากจะไปซื้อของโดยนำถุงผ้าหรือกระเป๋าของตัวเองไปด้วยค่ะ

เมื่อคุณมาญี่ปุ่น คุณอาจมีโอกาสไปซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ แต่ถ้าเป็นไปได้ อย่าลืมนำถุงผ้าหรือกระเป๋าไปเองด้วยนะคะ

อ่านแล้วพบวิธีการออมที่คุณสามารถนำไปปฏิบัติจริงไหมคะ? อย่าลืมบอกพวกเราถึงเทคนิคการออมที่คุณแนะนำในช่องคอมเมนท์นะคะ!

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend