ญี่ปุ่นกับสึนามิ คลื่นมหาภัย

  • 28 มีนาคม 2022
  • Lily Baxter
  • Mon

ญี่ปุ่นกับสึนามิ คลื่นมหาภัย

'สึนามิ' (津波) คำภาษาญี่ปุ่นที่ใช้กันไปทั่วโลก ใช้ในทั้งความหมายทั่วไปและความหมายเชิงลึก นอกจากจะถูกใช้เป็นคำคุณศัพท์ในการสนทนาในชีวิตประจำวันในบางภาษาแล้ว ยังเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภัยพิบัติในปี 2011 ที่ยังคงเป็นแผลสดในใจของหลาย ๆ คนในญี่ปุ่น

ความสำคัญของคำว่า สึนามิ

ความสำคัญของคำว่า สึนามิ

ความหมายก็คือ 'ท่าเรือ' (津 สึ) และ 'คลื่น' (波 นามิ) หมายถึงคลื่นที่เข้าสู่สถานที่ที่ไม่ควรมีคลื่นมากระทบ และสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งปลูกสร้างโดยมนุษย์ตลอดจนชีวิตมนุษย์ แม้ว่าสึนามิไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในญี่ปุ่น แต่ที่ญี่ปุ่นก็มีการบันทึกเหตุการณ์ไว้เกือบหนึ่งในสามของเหตุการณ์สึนามิทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้ด้วย

การบันทึกการใช้คำว่าสึนามิในภาษาอังกฤษครั้งแรกนั้นพบได้ในรายงานของ National Geographic ในปี 1896 ซึ่งในภาษาอังกฤษหมายถึง 'คลื่นจากแผ่นดินไหว' ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินไหวกับสึนามิ และเป็นนำคำภาษาญี่ปุ่นมาใช้ครั้งแรก ด้วยความที่ออกเสียงง่าย และบรรยายปรากฏการณ์ที่ไม่มีคำสั้น ๆ อื่นใดถูกใช้มาก่อน จึงไม่น่าแปลกใจที่คำว่าสึนามิกลายเป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลก

สึนามิเกิดจากอะไร?

สึนามิเกิดจากอะไร?

คลื่นสึนามิเกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลอย่างรุนแรง โดยประมาณ 70% เกิดจากแผ่นดินไหว ซึ่งส่วนใหญ่ก็เกิดจากการเคลื่อนตัวของแมกม่าและแผ่นเปลือกโลก

ประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่บนจุดรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกและแผ่นทวีปหลายแผ่น ซึ่งหมายความว่าจะมีการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกและแผ่นดินไหวที่ตามมาบ่อยครั้ง สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เกิดสึนามิ แต่ก็อาจเกิดจากการที่อุกกาบาตตก ดินถล่มลงทะเล การถล่มของภูเขาใต้ทะเล หรือลาวาที่ไหลลงสู่ทะเล สึนามิเกิดจากสิ่งใดก็ตามที่ทำให้น้ำปริมาณมากเคลื่อนตัวอย่างรุนแรง โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นบ่อยในญี่ปุ่นพอดีนั่นเอง

ความเร็วของสึนามิที่ได้ก่อตัวขึ้นแล้วจะถูกกำหนดโดยความลึกของน้ำและความแรงของการกระจัด ก่อนเข้าใกล้เขตน้ำตื้นจะเป็นเพียงคลื่นใต้ผิวน้ำ จึงมักจะมองไม่เห็นโดยเรือที่อยู่ด้านบน และจะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไปถึงแนวชายฝั่งเท่านั้น รายงานจำนวนมากได้เน้นย้ำถึงปรากฏการณ์ของทะเลที่ลดระดับลงก่อนเกิดสึนามิ โดยที่น้ำจะก่อตัวเป็นคลื่นหรือเป็นคลื่นขนาดใหญ่เมื่อมาถึงเขตน้ำตื้น

คลื่นสึนามิปกติจะสูงถึงประมาณ 30 เมตรเมื่อเข้าใกล้ฝั่งและเกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก แต่คลื่นสึนามิยักษ์สามารถสูงได้หลายร้อยเมตร เนื่องจากเกิดจากการที่มีวัตถุเข้าสู่น้ำและก่อให้เกิดการกระจัดของน้ำ เช่น ดินถล่มหรืออุกกาบาตตกลงทะเล

ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสึนามิในญี่ปุ่น

ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสึนามิในญี่ปุ่น

ในญี่ปุ่นบันทึกเกี่ยวกับสึนามิเก่าแก่ถึงปี ค.ศ. 684  มีการวัดความสูงและศึกษาอย่งาจริงจังในประเทศบนเกาะแห่งนี้มาช้าานแล้ว ชาวญี่ปุ่นต้องพึ่งพาอาศัยทะเลเนื่องจากมีชุมชนชาวประมงจำนวนมากและด้วยความสำคัญอย่างยิ่งทางจิตวิญญาณที่มีต่อธรรมชาติตามแนวทางของศาสนาชินโต ความผูกพันกับทะเลในวัฒนธรรมญี่ปุ่นและคติชนวิทยาจึงแน่นแฟ้นมาก แม้ว่าแผ่นดินไหวและไฟไหม้เป็นจุดสนใจของรายงานภัยพิบัติในเมืองต่าง ๆ แต่สำหรับบริเวณชายฝั่งแล้ว สึนามิกลับกลายเป็นจุดสนใจที่ใหญ่กว่า

  • ในปี ค.ศ. 1771 เหตุสึนามิครั้งใหญ่ที่ยาเอยามะเกิดจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ยาเอยามะ และคร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 11,000 คน เกาะอิชิงากิ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรริวกิวและปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโอกินาว่า ได้รับความเสียหายอย่างหนักพร้อมกับมิยาโกจิมะ เช่นเดียวกับผลกระทบในขั้นต้น ความอดอยากหิวโหยก็ตามมาและกินเวลานานถึง 80 ปีเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้น
  • ในปี ค.ศ. 1782 การระเบิดของภูเขาไฟอุนเซ็นทำให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อเกิดดินถล่มตกลงไปในอ่าวที่อยู่ใกล้เคียง มีผู้เสียชีวิต 15,000 คนเนื่องจากคลื่นเคลื่อนตัวเข้าไปภายในอ่าวอาริอาเกะ ซึ่งกระทบดินแดนฮิโกะก่อนที่จะสะท้อนกลับไปที่ชิมาบาระ
  • ในปี ค.ศ. 1896 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ซันริคุได้เกิดขึ้นที่ชายฝั่งของจังหวัดอิวาเตะ ทำให้เกิดสึนามิ 2 ระลอก คร่าชีวิตผู้คนไปรวมกันกว่า 22,000 คน คลื่นสูงถึง 30 เมตร ซึ่งยังคงสูงที่สุดในประวัติศาสตร์จนกระทั่งเหตุภัยพิบัติในปี 2011
  • ในปี 1993 แผ่นดินไหวที่โอคุชิริบนชายฝั่งฮอกไกโดทำให้เกิดสึนามิครั้งใหญ่ที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากมายทั้งในฮอกไกโดและรัสเซีย มีผู้เสียชีวิตประมาณ 230 คน ส่วนใหญ่อยู่บนเกาะโอคุชิริซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ
  • ในปี 2011 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในโทโฮคุได้ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความเสียหายร้ายแรง ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 20,000 คน โดยที่ผู้คนอีกจำนวนมากยังหายสาบสูญมาจนถึงทุกวันนี้ คลื่นซัดเข้าหาฝั่งด้วยความเร็วมากกว่า 500 ไมล์ต่อชั่วโมงและซัดไปในอผ่นดินไกลจากชายฝั่งถึง 6 กม. อาคารจำนวนนับไม่ถ้วนได้รับความเสียหายหรือถูกทำลาย และความเสียหายที่สำคัญได้เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ซึ่งนำไปสู่การประกาศเขตอพยพจำนวนมาก ซึ่งบางส่วนยังคงเป็นเขตอพยพอยู่จนถึงทุกวันนี้

ระบบเตือนภัยสึนามิของญี่ปุ่น

ระบบเตือนภัยสึนามิของญี่ปุ่น

ระบบเตือนภัยสึนามิของญี่ปุ่นจะทำการเตือนภายในไม่กี่นาทีหลังเกิดแผ่นดินไหวเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้อยู่อาศัยว่าจำเป็นต้องดำเนินการหรือไม่ ระบบเตือนมีสามระดับหลัก: เฝ้าระวังสึนามิ คำเตือนสึนามิ และคำเตือนสึนามิรุนแรง

แม้ว่าระบบเตือนภัยจะใช้ทั้งไซเรน ลำโพง สถานีโทรทัศน์ระดับชาติ และบริการฉุกเฉินก็ตาม แต่ก็ขอแนะนำว่าผู้ที่อยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลควรอพยพขึ้นที่สูงทันทีเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเพื่อเป็นมาตรการป้องกัน คลื่นอาจสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้และผู้คนควรอพยพไปยังที่สูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ทุกครั้ง นอกจากนี้ยังมีแอพจำนวนหนึ่งที่สามารถแจ้งเตือนได้ด้วย โดยที่หลาย ๆ แอพจะติดตั้งไว้ล่วงหน้าบนสมาร์ทโฟนที่ขายในญี่ปุ่น สำหรับในกรณีฉุกเฉิน

  • เฝ้าระวังสึนามิ: คลื่นมีความสูงประมาณ 1 เมตร เรือขนาดเล็กอาจพลิกคว่ำ กระแสน้ำแรงอาจดูดคนที่ว่ายน้ำลงทะเล และสิ่งปลูกสร้างหรือฟาร์มประมงจะถูกคลื่นซัดหายไป ประชาชนควรออกจากน้ำทันทีและมุ่งหน้าไปยังที่สูง
  • คำเตือนสึนามิ: คลื่นมีความสูงประมาณ 3 เมตร คลื่นสึนามิจะสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ลุ่ม ใครก็ตามที่โดนคลื่นกลืนจะถูกคลื่นซัดหายไป ประชาชนควรอพยพไปยังที่สูงหรืออาคารอพยพสึนามิ อาจเกิดสึนามิซ้ำหลายครั้ง ดังนั้นผู้คนควรอยู่ในสถานที่เหล่านี้จนกว่าจะได้รับคำแนะนำว่าปลอดภัย
  • คำเตือนสึนามิรุนแรง: คลื่นมีความสูงประมาณ 5 ม. ถึงเกิน 10 ม. สิ่งปลูกสร้างที่ทำด้วยไม้อาจถูกทำลายหรือถูกคลื่นซัดหายไป ใครก็ตามที่โดนคลื่นกลืนจะถูกคลื่นซัดหายไป ประชาชนควรอพยพไปยังที่สูงหรืออาคารอพยพสึนามิ อาจเกิดสึนามิซ้ำหลายครั้ง ดังนั้นผู้คนควรอยู่ในสถานที่เหล่านี้จนกว่าจะได้รับคำแนะนำว่าปลอดภัย

วิธีตรวจสอบความเสี่ยงต่อสึนามิ

วิธีตรวจสอบความเสี่ยงต่อสึนามิ

เมื่ออยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลใด ๆ ผู้เยี่ยมชมมักจะเห็นป้ายเกี่ยวกับสึนามิและคู่มือการอพยพ สิ่งเหล่านี้มักถูกตั้งไว้ในบริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นที่นิยมเช่นเดียวกับในเขตที่อยู่อาศัย และจะเตือนถึงความเสี่ยงในพื้นที่นั้นๆ จะมีป้ายบอกทางไปยังจุดอพยพหลายป้าย ไม่ว่าจะเป็นบนที่สูงหรืออาคาร อย่าลืมตรวจสอบจุดอพยพที่ใกล้ที่สุดล่วงหน้า - ข้อมูลนี้มีให้ในโรงแรมและเกสต์เฮาส์ตลอดจนเว็บไซต์ของรัฐบาลท้องถิ่น สำนักงานข้อมูลนักท่องเที่ยวยังให้ข้อมูลในหลายภาษาและเป็นที่ดีเยี่ยมในการตรวจสอบข้อมูลด้านความปลอดภัย

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend