เรื่องเหนือความคาดหมายมากมาย! “KEIRIN” ที่กำเนิดในญี่ปุ่นคืออะไร?

  • 2 มีนาคม 2020
  • FUN! JAPAN Team
  • Jum

เรื่องเหนือความคาดหมายมากมาย! “KEIRIN” ที่กำเนิดในญี่ปุ่นคืออะไร?

หากพูดถึงการแข่งขันจักรยาน ก็คงมีแต่ประเด็นฮ็อตเต็มไปหมด อย่าง "Road Race" (การแข่งจักรยานออกถนน) ที่แนะนำไปในบทความก่อนหน้านี้และ "BMX" (การแข่งจักรยานวิบาก) ซึ่งเป็นที่สนใจในฐานะที่ถูกบรรจุให้เป็นหนึ่งในชนิดกีฬาในการแข่งขันโอลิมปิกโตเกียว 2020 ในบทความนี้ เราตั้งธีมมาแนะนำการแข่งขันจักรยาน "KEIRIN" (การแข่งจักรยานในลู่) ชนิดกีฬาที่กำเนิดขึ้นในญี่ปุ่นกันค่ะ! ในครั้งนี้ก็เป็นบทความสุดท้ายของซีรี่ส์พิเศษเกี่ยวกับจักรยานค่ะ! อย่าพลาดติดตามกันนะคะ!

การแข่งขันจักรยาน KEIRIN คืออะไร?

การแข่งขันจักรยาน KEIRIN คืออะไร?

หนึ่งในการแข่งขันสาธารณะเพื่อการกุศลเทียบเคียงได้กับการแข่งเรือ การแข่งม้า และการแข่งรถยนต์ เป็นการขี่จักรยานในสนามแข่งและแข่งขันในการแข่งขันโดยมีแขกผู้เข้าชมวางเงินเดิมพันเพื่อนำเงินที่ได้ส่วนหนึ่งไปสนับสนุนกิจกรรมอาสาสมัครต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อาทิเช่น การส่งเสริมงานหัตถกรรม กีฬา และสวัสดิการสังคม ซึ่งการแข่งขันจักรยานประเภทลู่ก็เรียกว่า "Keirin" (競輪) เช่นกัน แต่เขียนด้วยตัวอักษรคาตาคานะ (ケイリン) ต่างจากการแข่งจักรยาน “KEIRIN” ที่เป็นกิจกรรมสาธารณะเพื่อการกุศลค่ะ ส่วนในบทความนี้เราจะแนะนำการแข่งรถจักรยานแบบสาธารณะ “KEIRIN" กันค่ะ!

เรื่องผิดคาด! อย่างที่ 1: การแข่งจักรยาน “KEIRIN” กำเนิดขึ้นที่ญี่ปุ่น!

ในความเป็นจริง การแข่งจักรยาน “KEIRIN” เป็นกีฬาอาชีพที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2000 ที่ซิดนีย์ การแข่งขันจักรยานประเภทลู่ “Keirin” ได้รับเลือกให้บรรจุเป็นชนิดการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ถัดมา NAGAI Kiyoshi ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2008 ที่กรุงปักกิ่ง

"KEIRIN" แบบการกุศลคือ "การแข่งขันแบบทีม" ซึ่งผู้แข่งขันจะต้องฟอร์ม "ทีม" ด้วยการปั่นเป็นแถวเรียงหนึ่งในการแข่งขัน ส่วนการแข่งขันจักรยานประเภทลู่ "Keirin" เป็นการแข่งขันแบบเดี่ยว ผู้เล่นแต่ละคนแข่งขันกันเพื่อแย่งตำแหน่งจ่าฝูง ในไม่ว่าในแบบใด ทั้งหมดก็ไม่ใช่แค่การแข่งขันเพื่อความเร็วอย่างเดียว แต่ขึ้นแซงคู่ต่อสู้อย่างชำนาญก็ยังเป็นความลึกซึ้งของการแข่งขันจักรยานประเภทลู่ Keirin ค่ะ

เรื่องผิดคาด! อย่างที่ 2: เร็ว! แรง! จักรยานแข่ง Racer ที่เกิดขึ้นมาเพื่อวิ่งไปพร้อมกับนักกีฬานั้นไม่มีเบรก!

จักรยานที่ใช้ในการแข่งขันจักรยานนั้นเรียกว่า Racer และมันถูกสร้างขึ้นมาอย่างสมบูรณ์เพื่อให้เหมาะกับนักกีฬาแต่ละคน มันมีน้ำหนักประมาณ 7 ถึง 8 กิโลกรัมและไม่มีเบรกเพื่อให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและกำจัดสิ่งและน้ำหนักที่ไม่จำเป็นเพื่อการเร่งความเร็วที่ดีขึ้น ความเร็วจะถูกปรับตามความเร็วที่ผู้เล่นถีบแป้นจักรยานด้วยขาของตนเอง นอกจากนี้ความหนาของยางยังบางมากเพียง 22 มม.! พื้นที่หน้าสัมผัสกับถนนจะลดลงเพื่อลดแรงเสียดทานนั่นเอง

เรื่องผิดคาด! อย่างที่ 3: แค่เร็วอย่างเดียวก็ใช่ว่าจะชนะได้!

การแข่งจักรยาน KEIRIN ที่วิ่งเป็นแถวนั้นก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการขึ้นแซงคู่แข่งด้วยค่ะ ในการขึ้นนำเป็นจ่าฝูงนั้นจำเป็นต้องตั้งกลยุทธ์ด้วย มีทั้งวิธีการปั่นแบบ “Pushing Run” ซึ่งผู้แข่งขันก็จะไม่ยอมให้ทางง่าย ๆ และบังคับให้ขึ้นแซงจากภายในแถวแม้ว่าจะถูกไล่แซงจากผู้แข่งขันในแถวอื่น และวิธีปั่นแบบ “Kamashiri Run” ซึ่งทำการแซงขึ้นหน้าในช่วงเวลาเพียงอึดใจระหว่างที่ผู้เล่นที่อยู่แถวอื่นที่ไม่ได้เร่งความเร็ว สัญชาตญาณของผู้เล่นมีความซับซ้อนและมักจะนำไปสู่การแข่งขันที่น่าทึ่งค่ะ!

จุดยอดเยี่ยมของนักแข่งจักรยาน KEIRIN!

จุดยอดเยี่ยมของนักแข่งจักรยาน KEIRIN!

ในการแข่งขันจักรยาน KEIRIN ชาย นักกีฬาจะถูกแบ่งออกเป็นหกระดับชั้นโดยมีชั้น S ระดับ S เป็นระดับชั้นสูงสุด ไล่ลงมาที่ชั้น S ระดับ 1-2 และชั้น A ระดับ 1-3 โดยจะมีการการเปลี่ยนระดับชั้นปีละสองครั้งตามผลการแข่งขัน โลกการแข่งจักรยาน KEIRIN นั้นเข้มงวด หากผลลัพธ์ยังคงไม่ดีอย่างต่อเนื่องก็จะถูกระงับการลงทะเบียนผู้แข่งขันและหายไปจากโลกของการแข่งจักรยานกันเลยค่ะ และสิ่งที่ควรสังเกตคือร่างกายของผู้เล่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนาดของต้นขาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งจนมีการกล่าวกันว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงความแข็งแกร่งของผู้แข่ง ต้นขายังเป็นความภาคภูมิใจของนักปั่นจักรยานอีกด้วยค่ะ

สรุป

มีสนามแข่งจักรยาน KEIRIN มากกว่า 40 แห่งในพื้นที่ต่าง ๆ ของญี่ปุ่นตั้งแต่ฮาโกดาเตะในฮอกไกโดไปจนถึงคุมาโมโตะในเกาะคิวชู และการแข่งขันจักรยานจะมีขึ้นเกือบทุกวัน ในเขตโตเกียวและปริมณฑล แนะนำสนามแข่ง Seibuen, Keio-kaku, Chiba, Kawasaki และอื่น ๆ ที่สะดวกแก่การเข้าถึง สามารถซื้อตั๋วเดิมพันผลการแข่งจักรยานได้ตั้งแต่อายุ 20 (นักเรียน-นักศึกษา ไม่อนุญาตให้ซื้อ) ค่าเข้าชมส่วนใหญ่ฟรี แต่มีสถานที่ที่จำเป็นต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกดังนั้นโปรดตรวจสอบล่วงหน้า!

มีสองวิธีในการซื้อตั๋วเดิมพัน คือ ทางอินเทอร์เน็ต และที่สนามแข่งจักรยานและห้องขายตั๋วนอกสนาม สำหรับอันหลังให้กรอกบัตรทำเครื่องหมายที่สถานที่นั้น ๆ โดยทำการเลือกรอบแข่งที่ต้องการเดิมพันที่อยากจะซื้อ ตรวจสอบหมายเลขรถ / หมายเลขตัวรถที่คิดว่าจะชนะ และนำข้อมูลดังกล่าวไปที่เคาน์เตอร์หรือเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติเพื่อซื้อตั๋วเดิมพัน หากโหวตผู้ชนะได้ถูกต้อง การคืนเงินจะทำที่สนามแข่งขันจักรยานที่จัดขึ้นการแข่งขัน ที่ห้องขายตั๋วนอกสนาม หรือในสถานที่ที่กำหนดโดยผู้ปฏิบัติงานของแต่ละการแข่ง

สำหรับแบบแรก ให้เปิดบัญชีธนาคารสำหรับใช้ซื้อตั๋วหรือรับเงินคืน และหลังจากเสร็จสิ้นการลงทะเบียนเป็นสมาชิกให้ฝากเงินเพื่อใช้ในการเดิมพันในบัญชีเฉพาะและซื้อตั๋วผ่านทางหน้าจอการโหวตค่ะ

บทความซีรี่ส์เกี่ยวกับจักรยานเป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย? ถ้ามีความเห็น บอกให้ทางเราทราบด้วยนะคะ!

ซีรี่ส์เกี่ยวกับจักรยานทั้งหกครั้งที่เราเผยแพร่ไป เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับในครั้งหน้า ถ้าต้องการทราบเนื้อหาและธีมอะไรเป็นพิเศษ รีเควสกันเข้ามาได้เลยนะคะ!

บทความในซีรี่ส์นี้

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend