ลัทธิขงจื๊อในญี่ปุ่น จากลัทธิขงจื๊อที่รัฐบาลสำเร็จราชการโทคุงาวะรับมาในสมัยเอโดะไปจนถึง "ปรัชญาจูซี" ที่เกิดขึ้นใหม่

ลัทธิขงจื๊อในญี่ปุ่น จากลัทธิขงจื๊อที่รัฐบาลสำเร็จราชการโทคุงาวะรับมาในสมัยเอโดะไปจนถึง

ลัทธิขงจื๊อ (儒教 / Jukyō) เป็นปรัชญาตามคำสอนของขงจื้อ (孔子 / Kōshi) ในประเทศจีนในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ปรัชญานี้ยังคงมีอิทธิพลต่อประเทศในเอเชียตะวันออกแม้จะผ่านไป 2,500 ปีแล้ว ในญี่ปุ่น ลัทธิขงจื๊อใหม่หรือปรัชญาจูซี (朱子学 / Shushigaku) ได้ถูกนำเข้ามาในช่วงรัฐบาลสำเร็จราชการโดยโชกุนโทคุงาวะ และพัฒนาขึ้นนับแต่นั้นจนกลายเป็นการศึกษาเชิงปรัชญาที่ไม่เหมือนใคร ในที่นี้เราจะมาดูอิทธิพลของลัทธิขงจื๊อในประเทศญี่ปุ่นรวมถึงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันค่ะ

ลัทธิขงจื๊อที่ถูกศึกษาแม้แต่ในประเทศญี่ปุ่น คือ?

ลัทธิขงจื๊อที่ถูกศึกษาแม้แต่ในประเทศญี่ปุ่น คือ?

ลัทธิขงจื๊อเป็นระบบการสอนเชิงปรัชญาที่ประกอบขึ้นโดยขงจื้อในยุควสันตสารท (春秋時代 / Spring and Autumn period หรือยุคชุนชิว ประมาณ 770 ปีก่อนคริสตกาล – 453 ปีก่อนคริสตกาล) ของจีนโบราณ ในเวลานั้นจีนถูกแบ่งออกเป็นหลายก๊กและอยู่ในภาวะสงคราม ด้วยภูมิหลังดังกล่าวนี้ ขงจื้อได้รวบรวมอุดมคติด้านการเมืองการปกครองของเหล่าผู้รู้ที่เก่าแก่กว่ายุคนั้นขึ้น และได้กล่าวว่าการปกครองบ้านเมืองควรได้มาโดยความดีความชอบ (徳) ของผู้ปกครองมากกว่าโดยการใช้กำลังทหารค่ะ

ลัทธิขงจื๊อยังบอกกล่าวว่าการรักษาความสัมพันธ์ 5 ประการ (五倫の関係 / Gorin no Kankei) อันได้แก่ ผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง (君臣 / Kunshin) บิดามารดากับบุตรธิดา (父子 / Fushi) สามีกับภรรยา (夫婦 / Fūfu) ผู้เป็นพี่กับผู้เป็นน้อง (長幼 / Chōyō) และเพื่อนกับเพื่อน (朋友 / Hōyū) นั้นเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาไว้ซึ่งจริยศาสตร์ 5 ประการ (五常の徳 / Gojō no Toku) อันได้แก่ ความเมตตา (仁 / Jin หรือ เหยิน) ความชอบธรรม (義 / Gi หรือ อี้) ความเหมาะสม (礼 / Rei หรือ หลี่) ความรอบรู้ (智 / Chi หรือ ชี่) และความเป็นผู้น่าเชื่อถือ (信 / Shin หรือ หยู๋) ความหมายของจริยศาสตร์ 5 ประการนี้ก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา (ความเมตตา) การผดุงความชอบธรรมในฐานะปัจเจกบุคคล (ความชอบธรรม) การรักษาไว้ซึ่งระเบียบมารยาทระหว่างผู้น้อยและผู้ใหญ่ (ความเหมาะสม) การตั้งใจศึกษา (ความรอบรู้) และการรักษาสัญญา สัจจะ และซื่อสัตย์ (ความเป็นผู้น่าเชื่อถือ) นั่นเองค่ะ

ลัทธิขงจื๊อในญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะศาสตร์ความรู้ในญี่ปุ่นช่วงสมัยรัฐบาลสำเร็จราชการโดยโชกุนโทคุงาวะ

ลัทธิขงจื๊อในญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะศาสตร์ความรู้ในญี่ปุ่นช่วงสมัยรัฐบาลสำเร็จราชการโดยโชกุนโทคุงาวะ

มีการกล่าวกันว่า ลัทธิขงจื๊อได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อนักวิชาการที่เรียกกันว่า โกะเคียวฮากาเสะ (五経博士 / Gokyo Hakase ศาสตราจารย์ห้าแขนง) ไปเดินทางเยือนแพ็กเจ (百済 / Baekje คาบสมุทรเกาหลีโบราณ) ในปีค.ศ. 513 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีคำอธิบายเกี่ยวกับลัทธิขงจื๊อในโคะจิกิ (古事記 / Kojiki บันทึกโบราณ) ที่ถูกบันทึกไว้ในช่วงเวลาก่อนสมัยนั้น กล่าวว่าได้ได้ถูกเผยแพร่ตั้งแต่ในช่วงประมาณศตวรรษที่ 5 ถึงกระนั้น แม้ว่าประวัติศาสตร์ของลัทธิขงจื๊อในญี่ปุ่นจะเก่าแก่ แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะศาสนาอย่างพระพุทธศาสนาซึ่งเข้ามาในญี่ปุ่นในภายหลังหรือในฐานะแนวความคิดแบบปรัชญาค่ะ

ลัทธิขงจื๊อในญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะศาสตร์ความรู้ในญี่ปุ่นช่วงสมัยรัฐบาลสำเร็จราชการโดยโชกุนโทคุงาวะ

และปรัชญาจูซีซึ่งพัฒนามาจากลัทธิขงจื้อได้ถูกนำมาเผยแพร่ใหม่ในญี่ปุ่นในสมัยคามาคุระ (ประมาณปีค.ศ. 1,200) ตั้งแต่นั้นมาลัทธิขงจื๊อได้รับการศึกษาโดยพระและชนชั้นสอง อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงสมัยเอโดะ ในตอนที่ปรัชญาจูชีและปรัญชาหยางหมิง (陽明学 / Yomei-gaku) ของลัทธิขงจื๊อซึ่งละเอาการปฏิบัติต่าง ๆ เช่นการทำสมาธิแบบเซนออกได้เข้ามาถึงญี่ปุ่น ลัทธิขงจื้อได้จัดตั้งกลายเป็นศาสตร์ของตัวเอง ลัทธิในญี่ปุ่นจึงแตกต่างจากรูปแบบดั้งเดิมของจีนและของคาบสมุทรเกาหลีค่ะ

ปรัชญาลัทธิขงจื๊อที่หยั่งรากในญี่ปุ่น

ปรัชญาลัทธิขงจื๊อที่หยั่งรากในญี่ปุ่น

จนกระทั่งสมัยเอโดะ ลัทธิขงจื๊อในฐานะศาสตร์ศึกษาแพร่หลายในหมู่นักวิชาการ แต่เมื่อถึงญี่ปุ่นในสมัยใหม่ คำสอนของลัทธิขงจื๊อที่ถูกเลือกสรรให้เข้ากับคนญี่ปุ่นทั่วไปก็ได้หยั่งรากลงในประเทศญี่ปุ่น ทุกวันนี้ คำสอนของลัทธิขงจื๊อได้หยั่งรากในฐานะคุณธรรมอันดีงาม (美徳 / Bitoku) ของญี่ปุ่น อันได้แก่ การรักษาระเบียบ การเคารพในมารยาทต่าง ๆ ความขยันหมั่นเพียรและความมุ่งมั่นในการรักษาสัญญาค่ะ

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend