สวนสาธารณะโอโฮริแห่งฟุกุโอกะและปราสาทฟุกุโอกะ มรดกเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์

  • 24 กันยายน 2017
  • 14 สิงหาคม 2019
  • FUN! JAPAN Team

ปราสาทฟุกุโอกะ (福岡城 / Fukuoka-jo) ถูกสร้างขึ้นหลังจากการรวมประเทศญี่ปุ่นโดยตระกูลโทคุงาวะในปีค.ส. 1605 หลังจากได้มีส่วนช่วยให้ได้ชัยในศึกเซคิกาฮาร่า คุโรดะ นางามาสะ (黒田長政 / Kuroda Nagamasa) ก็ได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งให้เป็นเจ้าเมืองแห่งดินแดนชิคุเซ็น (筑前国 / Chikuzen no Kuni ปัจจุบันคือ เมืองฟุกุโอกะ)

เหตุผลในการสร้างปราสาทแห่งใหม่ ณ ที่นี้มีอยู่ 2 ประการ ประการแรก การมีปราสาทขนาดใหญ่ในครอบครองจะสร้างแรงศรัทธาและความเคารพนับถือ ประการที่สอง เป็นการการใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศเนินเขาเป็นแนวป้องกันภัยจากศัตรูภายนอก การก่อสร้างปราการไร้พ่ายนี้สร้างขึ้นโดยการสร้างกำแพงหินหลายชั้น แต่เพียงกำแพงหินอย่างเดียวนั้นก็ยังไม่พอ จึงมีการสร้างคูเมืองขึ้นด้านนอกกำแพงนอกสุดอีกด้วย

สวนโอโฮริแห่งฟุกุโอกะและปราสาทฟุกุโอกะ มรดกเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์

ตระกูลคุโรดะและสวนโอโฮริ

กระตูลคุโรดะมาจากดินแดนโทโทมิ (遠江国 / Tōtōmi no Kuni ปัจจุบันคือจังหวัดชิซึโอกะ) แต่ในตอนปลายศตวรรษที่ 16 บุคคลในตระกูลได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลเมืองถึงสองแห่ง อันได้แก่ ปราสาทนาคัตสึ (中津城 / Nakatsu-jo) ในดินแดนโทโทมิพร้อมเมืองในอาณัติโดย คุโรดะ โยชิทากะ (黒田孝高 / Kuroda Yoshitaka) ในปี 1587 และเมืองฟุกุโอกะโดยบุตรชาย คุโรดะ นากามาสะ ในปี 1600 ได้เคยรับใช้บุคคลสำคัญ 3 คนในสมัยสงครามเซ็งโกคุ (ระหว่างปี 1467-1603) อันได้แก่ โอดะ โนบุนากะ (織田信長 / Oda Nobunaga) โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ (豊臣秀吉 / Toyotomi Hideyoshi) และโทคุงาวะ อิเอยาสุ (徳川家康 / Tokugawa Ieyasu) ตามลำดับ แม้ว่าตัวคุโรดะ โยชิทากะ นั้นจะเป็นที่รู้จักในฐานะนักยุทธศาสตร์และที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ แต่นากามะสะก็ได้รับความเคารพในฝีมือจากโทคุงาวะ อิเอยาสุ ในศึกสมรภูมิเซคิกาฮาร่า จนได้รับใช้อิเอยาสุต่อในภายหลัง

สถาปัตยกรรมของปราสาท

ระยะภายในสวนสาธารณะโอโฮริ

เส้นทางรอบสวนมีความยาวถึง 5 กิโลเมตร จึงเหมาะกับการวิ่งจ็อกกิ้ง ในตอนเช้าคุณอาจพบชาวฟุกุโอกะและนักท่องเที่ยวต่างชาติมาวิ่งในสวนได้ด้วย

เนินฐานกำแพงหิน

ปราสาทญี่ปุ่นมักจะสร้างบนฐานที่เป็นเนินดินยกระดับที่ถูกปรับภูมิประเทศขึ้นและเสริมด้วยกำแพงหินถึงแม้ว่าจะปราสาทสร้างบนพื้นที่ที่มีภูมิประเทศเหมาะสมแล้วก็ตาม ซึ่งไม่เพียงแค่จะช่วยปกป้องผู้ที่อาศัยอยู่ภายในจากศัตรูภายนอกที่จะเข้ามาโจมตีเท่านั้น แต่ยังช่วยให้พบเห็นผู้บุกรุกได้แต่เนิ่นๆ และยังดูน่าเกรงขามอีกด้วย คงจะปฎิเสธไม่ได้เลยว่าประโยชน์ด้านยุทธศาสตร์ของพื้นที่สูงนั้นมีแต่ข้อดี การได้ครองปราสาทยังเป็นการบ่งบอกถึงกำลังพลในครอบครองและยศถาบรรดาศักดิ์อีกด้วย

สถาปัตยกรรมของปราสาท

หอปราการหลัก เท็นชูคาคุ

หอปราการหลักของปราสาทฟุกุโอกะ เป็นที่เลื่องลือกันว่ามีความสูงถึง 26 เมตร (นับจากฐานกำแพงหิน) ซึ่งมีลำดับขนาดความสูงรองจากปราสาทอะสึจิ (安土城 / Azuchi-jo) ในดินแดนโอมิ (近江国 / Omi no Kuni) ทั้งยังเคยเป็นที่อยู่อาศัยของโอดะ โนบุนากะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองป้องกันอย่างดีและดูสง่าผ่าเผยสมศักดิ์ศรี

ในปัจจุบัน ตัวหอปราการปราสาทนั้นถูกรื้อไม่เหลือตัวอาคารให้ชม แต่คุณก็สามารถปีนขึ้นไปบนยอดฐานกำแพงหินและชื่นชมทิวทัศน์ที่สวยงามได้รอบทิศ360องศา จากจุดนี้คุณจะรับรู้ได้ถึงความยิ่งใหญ่ของผู้ครองเมืองในสมัยยุคศตวรรษที่ 17

สถาปัตยกรรมของปราสาท

ฐานกำแพงนั้นทำด้วยหินด้วยวิธีการวางซ้อนกันในแนวลาดเอียงที่สามารถวางเรียงกันอย่างสูงชันได้ การวางเช่นนี้ให้ความมั่นคงแข็งแรงจนสามารถรองรับการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ บางคนกล่าวว่ามันเป็นความบังเอิญอันโชคดีเท่านั้น หินบางก้อนด้านล่างมีขนาดใหญ่สูงถึง 6 เมตร ซึ่งก็ชวนให้แปลกใจเพราะมันคงมีน้ำหนักมหาศาล การที่จะเคลื่อนย้ายมันขึ้นมาวางเป็นฐานปราสาทก็คงไม่ธรรมดาเช่นกัน

สถาปัตยกรรมของปราสาทปราสาทฟุกุโอกะ มรดกเก่าแก่ทางประวัติศาสตร์

ด้วยเหตุนี้ อย่างน้อยเราก็ควรชื่นชมกับความสำเร็จของการสร้างปราสาทโบราณเหล่านี้กัน มันยากที่จะจินตนาการจากภาพให้ได้เสมือนจริง แต่เมื่อคุณเดินตามป้อมปราการเหล่านี้ คุณจะสัมผัสถึงขนาดความยิ่งใหญ๋ของมันได้ในทันที อย่างที่บอกไว้ข้างต้นว่าสิ่งที่ยังเหลืออยู่ของตัวปราสาทฟุกุโอกะนั้นมีเพียงแค่ฐานกำแพงหินเท่านั้น แต่ถึงจะมีแค่นั้นแต่มันก็เป็นอะไรที่น่าประทับใจมากไม่แพ้ที่อื่นเลยค่ะ

สถาปัตยกรรมของปราสาท

วงล้อมกำแพงหลัก ฮอน-มารุ ศูนย์กลางการปกครอง

วงล้อมกำแพงหลัก หรือ ฮอน-มารุ เขียนด้วยตัวคันจิ 本丸 มีความหมายว่า “วงกลมหลัก” เป็นศูนย์กลางการปกครองของเมืองในอาณัติ โดยตั้งอยู่บนเนินดินยกระดับและถูกรายล้อมด้วยแนวกำแพงหินไว้ป้องกัน เป็นที่ตั้งของหอปราการหลักและศูนย์บัญชาการการปกครอง การเดินผ่านแขวงปกครองบนเนินแห่งนี้เหมือนเข้าไปสู่ดินแดนแห่งความฝัน เพราะในปัจจุบันนั้นเหลือไว้เพียงร่องรอยแห่งอดีตกาลเต็มไปหมด

สถาปัตยกรรมของปราสาท
สถาปัตยกรรมของปราสาท

นอกจากนี้ยังมี "นิ โน มารุ" (二の丸 วงล้อมกำแพงที่สอง) และ "ซัน โน มารุ" (三の丸 วงล้อมกำแพงที่สาม) เป็นชั้นกำแพงหินซึ่งรายล้อมด้วยตระกูลซามูไรที่ได้รับการจัดสรรที่อยู่อาศัยลดหลั่นตามตำแหน่งกันไป

สถาปัตยกรรมของปราสาท

เราหา ซัน โน มารุ ในปราสาทฟุกุโอกะไม่เจอ เนื่องจากอาจเป็นเพราะพื้นที่ปราสาทมีขนาดเล็กเกินกว่าจะสร้างวงล้อมกำแพงเกินสองชั้น หรือเป็นเพราะวงล้อมกำแพงที่สามถูกพังทำลายไม่มีร่องรอยอะไรที่เหลือไว้ให้เห็นในปัจจุบัน

สถาปัตยกรรมของปราสาท

สุดท้าย รอบๆวงล้อมกำแพงนอกสุดของปราสาทจะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านทั่วไปซึ่งเรียกว่า "โจกะมาจิ" หรือ "เมืองในอาณัติปราสาท" ซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองจากกำแพงปราสาท แตกต่างจากเมืองยุคกลางในยุโรปหลายแห่งที่สร้างกำแพงล้อมทั้งเมือง ดูเหมือนว่าผู้มีอำนาจในญี่ปุ่นสมัยโบราณไม่กลัวที่จะสูญเสียไพร่พลและชาวบ้านชาวช่องจากภัยอันตรายจากศัตรูกันเท่าไหร่

สถาปัตยกรรมของปราสาท

ข้อสรุป

ซากปราสาทฟุกุโอกะยังคงเป็นสถานที่ที่นิยมเพราะอยู่ในบริเวณสวนสาธารณะโอโฮริ จึงเดินทางเข้าชมได้สะดวกและสภาพแวดล้อมที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามเราก็คิดว่าการได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างและภูมิหลังทางประวัติศาสตร์มากขึ้น ก็จะทำให้การเดินทางท่องเที่ยวในครั้งนี้ดูน่าสนใจมากขึ้นค่ะ

ข้อมูลสถานที่แนะนำ

  • การเดินทาง: ขึ้นรถไฟสาย Kuko ไปลงสถานี Ohori Koen และเดินไปทางสวนไมซุรุ (ประมาณ 5-8 นาที)
  • ที่ตั้ง: 1-2 Ohori-koen, Chuo-ku, Fukuoka-shi, Fukuoka

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend