【ของอร่อยในญี่ปุ่น】ตระเวนล่าหาอาหารท้องถิ่นเกรด B: ฉบับ "นาระ"

【ของอร่อยในญี่ปุ่น】ตระเวนล่าหาอาหารท้องถิ่นเกรด B: ฉบับ นาระ

เมืองหลวงเก่านาระนั้นก็ไม่ได้มีชื่อเสียงแค่เรื่องน้องกวางและพระใหญ่ไดบุตสึเท่านั้นค่ะ ที่นี่ยังเป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นอีกด้วย ส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น ชา สาเก และเต้าหู้ ซึ่งยังคงใช้กันทั่วไปในอาหารญี่ปุ่น มีต้นกำเนิดในนาระ จังหวัดนาระในปัจจุบันไม่เพียงแต่สื่อถึงรสชาติดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังสร้างวัฒนธรรมการกินแบบใหม่อีกด้วย ครั้งนี้เราจะมาสำรวจรสชาติของเมืองหลวงเก่าอย่างนาระกันค่ะ

"ของอร่อยเกรด B" คืออะไร?

ของอร่อยเกรด B แตกต่างจากอาหารท้องถิ่นดั้งเดิมที่เป็นตัวแทนของภูมิภาคตรงที่ไม่ได้ใช้วิธีการปรุงอาหารญี่ปุ่นที่เป็นเอกลักษณ์หรือการนำเสนออย่างสวยงามตามฤดูกาลเพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว แต่เป็นอาหารพื้นเมืองที่ปรุงด้วยวัตถุดิบในท้องถิ่นและเป็นที่ชื่นชอบของคนในท้องถิ่นมาเป็นเวลานานค่ะ

ลักษณะเฉพาะของอาหารนาระ

ลักษณะเฉพาะของอาหารนาระ

นาระเป็นหนึ่งในแปดจังหวัดในญี่ปุ่นที่ไม่มีพรมแดนติดทะเล ที่ลุ่มแอ่งก้นกระทะของนารามีสภาพอากาศอบอุ่นและดินอุดมสมบูรณ์ อุณหภูมิที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างกลางวันและกลางคืนทำให้ที่นี่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ด้วยเหตุนี้การเกษตรจึงมีบทบาทอย่างมากในนาระมาตั้งแต่สมัยโบราณ ผักยามาโตะ (大和野菜 / yamato yasai *ชื่อเดิมของนาระคือ ยามาโตะ) ชายามาโตะ ข้าว ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันค่ะ

ปริมาณการผลิตทางการเกษตรและพื้นที่การเกษตรของนาระมีไม่มากนักในญี่ปุ่น แแต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ก็ได้พัฒนาการเกษตรที่หลากหลายโดยการใช้เทคนิคการเพาะปลูกขั้นสูงอย่างเต็มที่ในขณะที่ผลิตสินค้าที่หลากหลายในปริมาณที่น้อย ตัวอย่างเช่น ผักต่าง ๆ ที่ผลิตในจังหวัดกำลังได้รับความนิยมภายใต้ชื่อแบรนด์ "ผักยามาโตะ" และ "โคโตกะ" (古都華 / kotoka) ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเป็นแบรนด์สตรอเบอร์รี่ในปี 2011 ไปจนถึงข้าวโบราณ (古代米) ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยก่อน ความอุดมสมบูรณ์ที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรทั้งเก่าและใหม่ทำให้วัฒนธรรมอาหารของนาระมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นค่ะ

ของอร่อยเกรด B ในนาระ

เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ แล้ว อาหารเกรด B ของนาระนั้นมีรสชาติที่ค่อนข้างอ่อนและมีเนื้อเป็นสัดส่วนเล็กน้อย เรื่องนี้อาจเกี่ยวข้องกับความจริงที่ว่าวัฒนธรรมอาหารส่วนใหญ่ของนาระมีต้นกำเนิดมาจากวัดและศาลเจ้า เอาล่ะ มาดูของของอร่อยเกรด B ที่เต็มไปด้วยความเป็นนาระกันเลยค่ะ!

ชากายุ

ชากายุ (茶粥 / chagayu ข้าวต้มน้ำชา)

กล่าวกันว่าการปลูกชาในญี่ปุ่นเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 9 เมื่อพระครูโคโบไดชิ (弘法大師 / Kobo Daishi หรือที่รู้จักในนาม "คูไค") ได้นำเมล็ดชากลับมาจากจีนและเริ่มต้นที่วัดบุตสึริวจิ (佛隆寺) ในอำเภออุดะ จังหวัดนาระ นอกจากนี้ยังกล่าวกันว่านี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ "ชายามาโตะ" ของนาระมีชื่อเสียงขึ้นมาอีกด้วยค่ะ

“ชากายุ” (茶粥 / chagayu) คือข้าวต้มที่ต้มในชาแทนน้ำ มีต้นกำเนิดเป็นอาหารสำหรับพระสงฆ์เมื่อ 1,200 ปีที่แล้ว และค่อยๆ แพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไปและกลายเป็นอาหารเช้าประจำวันของชาวนาระ ตามร้านอาหารในจังหวัดนารั คุณสามารถเพลิดเพลินกับชากายุได้ไม่เพียงแค่สำหรับมื้อเช้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงมื้อกลางวันด้วยค่ะ

บะหมี่โซเมนนวดมือ

บะหมี่โซเมนนวดมือ (手延べそうめん / tenobe soumen)

นาระยังเป็นแหล่งกำเนิดของบะหมี่โซเมนสีขาวเส้นบางอีกด้วย สถานที่คือย่านมิวะ อำเภอซากุราอิ จังหวัดนาระ และโซเมนที่นวดมือที่ทำขึ้นที่นี่เรียกกันว่า "มิวะโซเมน" (三輪素麺 / Miwa Somen) ในสมัยเอโดะก็มีชื่อเสียงโด่งดังอยู่แล้ว และได้รับการจัดอันดับให้เป็นโซเมนที่อร่อยที่สุดในญี่ปุ่นในหนังสือ "Nihon Sankai Meibutsu Zue" (日本山海名物図会 - หนังสือภาพของดังจากทะเลและภูเขา) ซึ่งกล่าวถึงอาหารรสเลิศและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากทั่วประเทศญี่ปุ่น

เหตุผลที่โซเมนที่นี่อร่อยนั่นก็คือข้าวสาลีและเทคโนโลยีการสีคุณภาพสูงของนาระนั่นเองค่ะ รสชาติดั้งเดิมของโซเมนนั้นเรียบง่ายมาก ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับอาหารหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น สามารถเข้ากันได้ดีกับบะหมี่โซเมนเย็นในฤดูร้อนและเส้นหมี่อุ่นในฤดูหนาวเป็นต้นค่ะ

ไก่เนื้อยามาโตะ (大和肉鶏 / Yamato Nikudori chicken)

ไก่เนื้อยามาโตะ (大和肉鶏 / Yamato Nikudori chicken)

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นาระเป็นหนึ่งในสามพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์ปีกที่สำคัญของญี่ปุ่น เกษตรกรเลี้ยงไก่เป็นธุรกิจเสริมนอกเหนือจากธุรกิจหลัก นี่คือ "ไก่ยามาโตะคาชิวะ" (大和かしわ / Yamato Kashiwa) รุ่นแรก (คาชิวะ เป็นคำเรียกโบราณหมายถึงเนื้อไก่ในสมัยก่อน) มีไขมันในปริมาณที่เหมาะสมและมีเนื้อสัมผัสที่ดี ทำให้มีชื่อเสียงมากในภูมิภาคคันไซ อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัวตนของไก่ยามาโตะคาชิวะก็หายไปครั้งหนึ่ง จากนั้นในปี 1982 ก็มีการเริ่มกลับมาขายในตลาดอีกครั้ง อาจกล่าวได้ว่านี่คือไก่เนื้อยามาโตะอันทรงคุณค่า ซึ่งเป็นรุ่นถัดมาที่ชุบชีวิตไก่ยามาโตะคาชิวะิันเลื่องชื่อในอดีตขึ้นอีกครั้งค่ะ

เท็นริราเมน

เทนริราเมน (天理ラーメン / Tenri Ramen)

เท็นริราเมน เป็นราเมนที่มีต้นกำเนิดในอำเภอเท็นริ จังหวัดนาระ มีลักษณะเด่นคือซุปที่มีผักกาดขาว ซอสถั่ว และกระเทียมจำนวนมาก และมีสีแดงสดเมื่อนำมาเสิร์ฟ ดูเผิน ๆ เหมือนจะมีรสเผ็ดมาก แต่ผักกาดขาวซึ่งมีน้ำอยู่มากทำให้ความเผ็ดลดลงมาเป็นรสปานกลาง และคุณจะไม่สามารถหยุดกินได้ เป็นราเมนแบบหนา อำเภอเท็นริได้ชื่อมาจากเท็นริเคียว (นิกายหนึ่งของศาสนาพุทธในญี่ปุ่น)

น้ำแข็งไส

ต้นกำเนิดของน้ำแข็งไสในญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่สมัยนาระ (ค.ศ. 710-794) ศาลเจ้าฮิมุโระ (氷室神社 / Himuro Jinja) ซึ่งเคยถวายน้ำแข็งแก่ราชวงศ์ เป็นที่รู้จักกันในนาม "ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งน้ำแข็ง" และยังคงเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาของผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำแข็งของญี่ปุ่นอยู่ในทุกวันนี้ค่ะ

ด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าว จึงมีการสร้างน้ำแข็งไสใหม่ ๆ ขึ้นมากมายในอำเภอนาระในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีงานอีเวนต์ที่จัดขึ้นทุกปีซึ่งมีร้านน้ำแข็งไสชื่อดังจากทั่วประเทศมารวมตัวกัน และด้วยการปรากฏตัวของร้านเฉพาะทางสำหรับน้ำแข็งไส ทำให้ที่นี่กลายเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์สำหรับน้ำแข็งไสในทันทีค่ะ ร้าน Hosekibako (ほうせき箱) เป็นหนึ่งในร้านน้ำแข็งไสที่มีชื่อเสียงที่สุด กลายเป็นร้านดังในนาระที่พลาดไม่ได้ ทำน้ำแข็งไส หน้าตาน่าทาน โดยเน้นวัตถุดิบจากนาระเป็นหลักค่ะ

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend