เกี่ยวกับ คำว่า "ありがとう" (อาริงาโต)

  • 7 กรกฎาคม 2021
  • 20 มีนาคม 2024
  • Pauli
  • Mon

เกี่ยวกับ คำว่า ありがとう (อาริกาโตะ)


ในละครและภาพยนตร์ญี่ปุ่น คุณมักจะเห็นคนญี่ปุ่นโค้งคำนับและพูดว่า "อาริงาโต" หรือแสดงความขอบคุณพร้อมรอยยิ้มและพูดว่า "อาริงาโต" แต่อะไรคือความหมายที่แท้จริง นิรุกติศาสตร์ วิธีการเขียน รูปแบบต่าง ๆ และประเภทของคำว่า "อาริงาโต" คำนี้? ลองอ่านบทความจนจบเพื่อหาคำตอบกันค่ะ!

ความหมายของ "อาริงาโต"

กล่าวกันว่านิรุกติศาสตร์ของ "อาริงาโต" มาจากพระพุทธศาสนา นั่นคือ คำว่า "พระศากยมุนี" (お釈迦さま) นี่คือการแสดงออกถึงความปิติยินดีและความขอบคุณต่อพระพุทธเจ้าที่ทรงประสูติขึ้นมาบนโลกนี้

จากตัวอักษร "อาริงาไต" หรือ 有難い จึงบ่งบอกได้ว่าเป็นคำที่เกิดจากคำสองคำ คือ "อารุ" 有る (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ มีในครอบครอง อัสติ) และ "มุสุกาชี่" 難しい (ยาก) ซึ่งรวมกันเป็นความหมายว่า เป็นการยากที่จะได้มาซึ่งบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้นตอนนี้จึงอ่านว่า "อาริงาโต" และเป็นคำว่า "ขอบคุณ" ที่ใช้เพื่อแสดงความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณในปัจจุบันค่ะ

วิธีเขียน "อาริงาโต"



เดิมทีเขียนเป็นคันจิว่า "有難う" แต่ปัจจุบันเขียนฮิรางานะว่า "ありがとう"

วิธีการใช่คำว่า "อาริงาโต"


มีวิธีการใช้ "อาริงาโต" อยู่ 2 แบบ คือ แบบสั้นและแบบยาว แบบสั้นคือ "ありがとう" (อาริงาโต) และอันยาวคือ "ありがとうございます" (อาริงาโตโกะไซมัส) "ありがとうございました" (อาริงาโตโกะไซมาชิตะ) และอื่นๆ

1. วิธีการใช้แบบสั้น

โดยทั่วไป "อาริงาโต" มักใช้สำหรับบุคคลที่มีความสัมพันธ์แบบสนิทไม่ต้องเป็นทางการและใกล้ชิด เช่น เพื่อนและญาติ

2. วิธีการใช้แบบยาว

ありがとうございます/Arigatou Gozaimasu (อาริงาโตโกะไซมัส)

  • เหมือนกับประโยคที่ลงท้ายด้วย ~masu หรือ ~desu จะมีความหมายที่สุภาพมากกว่าคำว่า "อาริงาโต" แบบสั้น ใช้เพื่อแสดงความขอบคุณไม่เพียงแต่ในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังใช้เพื่อสื่อสารกับเจ้านายและลูกค้าในที่ทำงานอีกด้วย

นอกจากนี้ยังใช้เมื่อคุณต้องการเน้นย้ำความรู้สึกขอบคุณของคุณ ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณมาสัมมนา ผู้ดำเนินรายการอาจพูดว่า: "本日はご来場いただき、ありがとうございます。" (Honjitsu wa go-raijou itadakki, arigatou gozaimasu / ขอบคุณที่มาในวันนี้) ซึ่งหมายถึง "ขอบคุณที่มา" แต่ผู้ดำเนินรายการนั้นกล่าวในเชิงที่ว่า "ขอแสดงความขอบคุณที่สละเวลามาร่วมฟังงานสัมมนานี้"

ありがとうございました/ Arigatou Gozaimashita (อาริงาโตโกะไซมาชิตะ)

  • มีความหมายและหน้าที่เหมือนกับ "อาริงาโตโกะไซมัส" แต่การใช้งานจะแตกต่างกันในแง่ของเวลาดำเนินการ "อาริงาโตโกะไซมาชิตะ" ใช้เพื่อแสดงความรู้สึกขอบคุณเกี่ยวกับเรื่องในอดีต
  • “อาริงาโตโกะไซมาชิตะ” มีความหมายในแง่ความสัมพันธ์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงเวลาที่พูด หากคุณต้องการสานสัมพันธ์กับคน ๆ นั้นต่อไป ก็ควรใช้ "ขอบคุณ"

"คำขอบคุณ" ในรูปสุภาพ

มีคำกล่าวแสดงความขอบคุณเป็นภาษาญี่ปุ่นรูปสุภาพดังต่อไปนี้:

1. 誠にありがとうございます。/ Makoto ni arigatou gozaimasu (มาโคโตะ นิ อาริงาโต โกะไซมัส)

หากคุณใช้ "มาโคโตะ นิ" ขึ้นต้นประโยค จะมีความสุภาพและเป็นทางการมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหมายก็คือ จริง ๆ อย่างสูง และอื่น ๆ มักใช้สำหรับอีเมลธุรกิจ

2. どうもありがとうございます。/Doumo arigatou gozaimasu (โดโมะ อาริงาโต โกะไซมัส)

รูปแบบมาตรฐานที่มักใช้ในชีวิตประจำวัน

3. 御礼申し上げます/Orei mōshi agemasu (โอะเร โมชิ อะเกมัส)

อีกประโยคที่แสดงความขอบคุณคือ "โอะเร โมชิ อะเกมัส" "โอะเร" (御礼) หมายถึงขอบคุณ และ "โมชิอะเกมัส" (申し上げます) เป็นคำว่า กล่าว พูด ในรูปสุภาพ

4. 感謝いたします/ Kansha itashimasu (คันฉะ อิตาชิมัส)

วิธีการแสดงความขอบคุณอย่างตรงไปตรงมา? ~Itasu เป็นรูปแบบถ่อมตนของคำว่า ~suru และสามารถใช้เมื่อส่งอีเมลถึงคู่ค้าทางธุรกิจหรือหัวหน้า และคุณสามารถใช้วลี "重ねて感謝いたします" (คาซาเนะเตะ คันฉะอิตาชิมัส) หรือ "改めて感謝いたします" (อะราตาเมะเตะ คันฉะอิตาชิมัส) เพื่อแสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งและหลาย ๆ ครั้ง

5. 恐れ入ります/Osoreirimasu (โอโซเระ อิริมัส)

"โอโซเระ อิริมัส" ไม่ได้หมายถึงแค่การแสดงเคารพต่อผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการแสดงความขอบคุณด้วย คุณสามารถใช้คำนั้นเพียงอย่างเดียว แต่คุณยังสามารถใช้วลีเพิ่มเติมเช่น "ご配慮いただき、恐れ入ります" (โกะไฮเรียว อิทาดาคิ โอโซเระ อิริมัส) วลีนี้ไม่เพียงแสดงถึงความขอบคุณอย่างเดียว แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนน้อมถ่อมตนและการเคารพผู้อื่น ทำให้เป็นวลีที่ใช้ง่ายมากเมื่อติดต่อกับหัวหน้า

"คำขอบคุณ" ในภาษาถิ่น 

ในญี่ปุ่น คำพูดในภาษาท้องถิ่นนั้นขึ้นอยู่กับภูมิภาค และมีสำนวนต่าง ๆ ของคำว่า "ขอบคุณ" แตกต่างกันไป

จังหวัดภาษาถิ่น 
คำอ่าน
ทั่วไป
ありがとう
Arigatou
Hokkaido 
ありがとう
Arigatou
Aomori 
ありがとうごす
Arigatou gosu
Akitaありがとさん
Arigato san
Iwate 
ありがとうがんす
Arigatou gansu
Yamagata
もっけ, ありがとうさん
Mokke, Arigatou san
Miyagi
ありがとうがす
Arigatou gasu
Fukushima
たいへん, してもらって
Taihen, Shite moratte
Nagano 
ありがとうござんす
Arigatou gozansu
Aichi ありがとうさん, おおきに 
Arigatou san, Ooki ni
Gifu 
きのどく、うたてー
Ki no doku, Utate-
Niigata 
ごちそうさまです
Gochisou sama desu
Toyama
ごちそうさま、きのどく
Gochisou sama, Ki no doku
Ishikawa
きのどく、ようした
Ki no doku, Youshita
Fukui
おおきに、きのどく
Ookini, Ki no doku
Osaka
おおきに
 Ooki ni
Hyogo 
おおきに、ありがとうおます
Ooki ni , Arigatou omasu
Tottori 
だんだん、ようこそ
 Dan dan, Youkoso
Okayama
ありがとうござんす
Arigatou gozansu
Hiroshimaありがとうあります
Arigatou arimasu
Yamaguchi
たえがとうございます
Taegatou gozaimasu
Tokushima & Kochi
たまるか
Tamaru ka
Ehime & Shimane
だんだん
Dan dan
Nagasaki
ありがとうござす
Arigatou gozasu
Saga 
おおきに
Ooki ni
Miyazaki
おおきに、だんだん、かたじけない
Ooki ni, Dan dan, Katajikenai
Kumamoto
だんだん、ちょうじょう
Dan dan, Choujou
Kagoshima
ありがとうごわす
Arigatou gowasu
Okinawa
にへーでーびる
Nihe-de-biru
Miyakojima たんでぃがーたんでぃ
Tandiga-tandi


การแสดงความขอบคุณแบบอื่น ๆ โดยไม่ต้องใช้คำว่า "อาริงาโต"

เมื่อต้องการแสดงความ "ขอบคุณ" หรือที่เรียกว่าความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ คุณสามารถใช้ "どうも" (โดโมะ) หรือ "すみません" (สุมิมะเซ็น) อาจฟังดูแล้วเหมือนคำว่าขอโทษ แต่มันมีความหมายว่าขอบคุณด้วยเช่นกัน

ต่อไปนี้เป็นการแสดงออกถึงความขอบคุณในภาษาญี่ปุ่นโดยไม่กล่าวคำว่า อาริงาโต

  • とても嬉しく思います/ Totemo ureshiku omoimasu (โตะเตโมะ อุเรชิคุ โอโมอิมัส)
  • 心より感謝いたします/ Kokoro yori kansha itashimasu (โคโคโระ โยริ คันฉะ อิตาชิมัส)
  • 感激いたしました/ Kangeki itashimashita (คัวเกคิ อิตาชิมัส)
  • 感謝の言葉もございません/ Kansha no kotoba mo gozaimasen (คันฉะ โนะ โคโตบะ โมะ โกะไซมาเซน)
  • 身に余るお言葉です/ Miniamaru o kotoba desu (มิ นิ อะมารุ โอะโคโตบา เดส)

การตอบกลับเมื่อได้รับคำ "ขอบคุณ"

ในชีวิตประจำวัน เวลามีคนกล่าวคำขอบคุณ คำตอบทั่วไปคือ "いいえ、どういたしまして" (อีเอะ โดอิตาชิมาชิเตะ) แต่รู้หรือไม่ว่าบางครั้งคำนี้ก็ม่เหมาะสม?

ต่อไปนี้เป็นบทสรุปของวลีที่ควรจะนำไปใช้พูดตอบกลับหลังได้รับคำขอบคุณ

ในที่ทำงาน กับหัวหน้า รูปแบบถ่อมตน กับคนที่เพิ่งเจอกันครั้งแรก

  • 「どういたしまして」/Dou itashimashite (โดอิตาชิมาชิเตะ)
  • 「恐れ入ります」/Osoreirimasu (โอโซเระ อิริมัส)
  • 「恐縮です」/Kyōshukudesu (เคียวชุคุเดส)
  • 「とんでもございません。お役に立てればうれしいです」/Tondemo gozaimasen, o yaku ni tateba ureshii desu (ทอนเดโมะ โกะไซมะเซ็น โอยาคุนิตาเตเรบา อุเรชี่เดส)
  • 「とんでもないです」/ Tondemo nai desu (ทอนเดโมะนาย เดส)
  • 「こちらこそ、お役にたてて、うれしいです」/ Kochira koso, oyakuni tatete, ureshiidesu (โคชิระโคโสะ โอยาคุนิตาเตเตะ อุเรชี่เดส)
  • 「こちらこそありがとうございます」/ Kochira koso, arigatou gozaimasu (โคชิระโคโสะ อาริงาโต โกะไซมัส)
  • 「お役に立てて嬉しいです」/ O yaku ni tatete, ureshii desu (โอยาคุนิตาเตเตะ อุเรชี่เดส)
  • 「いえ、いえ・・」/ Ie, ie (อิเอะ อิเอะ)
  • 「いえ、どういたしまして」/ Ie, Douitashimashite (อิเอะ โดอิตาชิมาชิเตะ)

กับเพื่อน กับคู่แข่ง

  • 「また何かあったら言ってね」/ Mata nani ka attara itte ne (มาตะ นานิกะ อัตตารา อิตเตะ เนะ)
  • 「また何かあったら遠慮なく聞いてね」/ Mata nani ka attara enryonaku kiite ne (มาตะ นานิกะ อัตตารา เอ็นเรียวนาคุ คีเตะ เนะ)
  • 「気にしないでいいよ」/ Ki ni shinaide ii yo (คิ นิ ชินายเดะ อี้ โยะ)
  • 「頑張れよ!」/ Gambare yo! (กัมบาเร โยะ)
  • 「また相談乗るよ!」/ Mata Soudan noru yo (มาตา โซดัน โนรุ โยะ)
  • 「こんどおごれよ!」/ Kondo ogore yo! (คอนโดะ โอโกเระ โยะ)
  • 「その言葉忘れんなっ」/ Sono kotoba wasurenna! (โซโน โคโตบา วาสุเร็นนะ)
  • 「そんなことは知らん」/ Sonna koto wa shiran! (ซอนนา โคโตะ วะ ชิรัน)

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend