วันหยุดประจำชาติของญี่ปุ่น「วันศารทวิษุวัต」คือวันที่ทำอะไรกัน?

  • 22 กันยายน 2020
  • Monique Lu

วันหยุดประจำชาติของญี่ปุ่น

เมื่อเข้าเดือนกันยายน ที่ญี่ปุ่นจะมีวันที่เรียกว่า “ชูบุนโนะฮิ” (秋分の日 / Shubun no hi) หรือ วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) ซึ่งเป็นวันหยุดประจำชาติของญี่ปุ่นวันหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2491 แต่เราก็คิดนะคะว่า หลายคนไม่รู้ว่า "วันศารทวิษุวัต" คืออะไรและหมายความว่าอย่างไร ดังนั้นในครั้งนี้เราจะแนะนำ "วันศารทวิษุวัต" กันโดยละเอียดค่ะ

"วันศารทวิษุวัต" คืออะไร?

วันศารทวิษุวัตเป็นวันที่บูชาบรรพบุรุษและระลึกถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ก่อนจะถึงปีพ.ศ. 2491 นั้นจะเรียกว่าเทศกาลพิธีบูชาดวงวิญญาณเชื้อพระวงศ์ประจำฤดูใบไม้ร่วง เนื่องจากช่วงศารทวิษุวัตจะมีความยาวของเวลากลางวันและเวลากลางคืนแทบจะเท่ากัน และเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นก็จะเริ่มสั้นลงหลังจากวันนี้ จึงมีการกล่าวกันมาแต่ช้านานแล้วว่า "จะเป็นวันที่ดินแดนสวรรค์วิมานสุขาวดีและโลกนี้จะเป็นใกล้กันที่สุด" หากมองในเชิงดาราศาสตร์แล้ว "เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านเส้นศูนย์สูตรที่ 180 องศาตามทรงกลมฟ้า" ก็คือศารทวิษุวัต ซึ่งก็มีการเปลี่ยนไปทุกปีตั้งแต่วันที่ 22 ถึง 24 กันยายน ดังนั้นทุกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะกำหนดวันศารทวิษุวัตในปีหน้าตามวารสารที่เรียกว่า "ตารางปฏิทินตามลำดับวันเวลา" ซึ่งจัดทำโดยสมาคมดาราศาสตร์แห่งชาติประเทศญี่ปุ่น

"วันศารทวิษุวัต" จะไปเคารพสุสานกัน

ช่วงเวลา 7 วันโดยมีวันศารทวิษุวัตอยู่ตรงกลางนั้นจะเรียกอีกอย่างว่า "ช่วงฮิกังฤดูใบไม้ร่วง" ในฤดูใบไม้ผลิเองก็มีช่วงฮิกังที่มีวันวสันตวิษุวัตอยู่ตรงกลาง ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกแยกกันว่า ช่วงฮิกังฤดูใบไม้ผลิ และ ช่วงฮิกังฤดูใบไม้ร่วง "ฮิกัง" เป็นศัพท์ทางพุทธศาสนา เดิมใช้หมายถึง "โลกแห่งการรู้แจ้งที่ตัดขาดจากโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์" พูดง่าย ๆ ก็คือ "โลกที่วิญญาณของบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วไปอาศัยอยู่" ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษพวกเขา จึงมีการไป "เคารพหลุมศพ" เมื่อถึงช่วงฮิกัง

แต่เดิมในพื้นที่ชนบทมีความศรัทธาในสิ่งต่าง ๆ ตามธรรมชาติ โดยจะทำการอธิษฐานเพื่อให้ได้ผลเก็บเกี่ยวที่ดีในช่วงวสันตวิษุวัต และเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวที่ดีในช่วงศารทวิษุวัต วิญญาณของบรรพบุรุษซึ่งกลายเป็นเทพแห่งภูเขาจะถูกเชิญลงมาที่หมู่บ้านจากภูเขาก่อนถึงวันวสันตวิษุวัต และจะมีพิธีเชิญกลับไปภูเขาจากหมู่บ้านหลังวันศารทวิษุวัตค่ะ แต่ด้วยการแพร่กระจายของพระพุทธศาสนา เทศกาลฤดูใบไม้ร่วงจึงเริ่มมีความหมายในแง่การจัดพิธีรำลึกถึงบรรพบุรุษในฐานะ "ช่วงฮิกังฤดูใบไม้ร่วง" นับแต่นั้นมาค่ะ

การกินของเซ่นไหว้ "โอฮากิ" ก็กลายเป็นสิ่งประจำด้วย

การทานของเซ่นไหว้

นอกจากการไปเคารพหลุมศพแล้ว การกินโอฮากิก็เป็นเรื่องที่ถือปฏิบัติกันอีกด้วย เนื่องจากเชื่อกันว่าสีแดงของถั่วแดงที่ใช้เป็นวัสดุมีฤทธิ์เป็นเครื่องราง จึงใช้เป็นเครื่องบูชาที่มีนัยยะในการขจัดสิ่งชั่วร้ายค่ะ

"ดอกพลับพลึงแดง" ทัศนียภาพที่หาพบได้ในช่วงนี้เท่านั้น

ดอกไม้ที่มีสีราวกับปีศาจสีแดงเพลิง "ฮิกังบานะ" (ดอกพลับพลึงแดง) ซึ่งบานในฤดูใบไม้ร่วงนั้น ก็เป็นที่นิยมในฐานะดอกไม้ประจำฤดูใบไม้ร่วงในญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นดอกไม้ที่บานในช่วง "ฮิกัง" ซึ่งฉลองกันเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ดอกไม้นี้มีลำต้นยาวและมีกลีบดอกคล้ายดอกไม้ไฟ

ดอกนี้ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "มันจูชาเกะ" (ดอกมัญชุสา) แต่ยังมีชื่ออื่น ๆ ที่น่ากลัวเช่น "ดอกไม้นรก" "ดอกไม้ผี" และ "ดอกไม้ผู้วายชนม์" เป็นต้น คุณสามารถเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ราวกับพรมแดงประจำช่วงเวลานี้ในช่วงกลางเดือนกันยายนซึ่งเป็นช่วงที่ดอกจะบานสะพรั่งค่ะ

ในคราวนี้เราได้แนะนำเกี่ยวกับ "วันศารทวิษุวัต" กันไปแล้ว แต่หากคุณสนใจในวันหยุดประจำชาติอื่น ๆ ของญี่ปุ่นนอกเหนือจากนี้ ลองดูบทความที่เกี่ยวข้องด้านล่างได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง:

วันหยุดประจำชาติของญี่ปุ่นMidori no hi หรือ Greenery Dayคือวันอะไร
เทศกาลวันเด็กของญี่ปุ่น (kodomo no hi)
ข้อสงสัยสำหรับวันพ่อ! ทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงมีวันพ่อในเดือนมิถุนายน
วันหยุดญี่ปุ่น「วันทะเล」คือวันอะไร
วันหยุดญี่ปุ่น 「วันกีฬา」
วันหยุดประจำชาติของญี่ปุ่นที่นึกถึงภูเขาและธรรมชาติ「วันภูเขา」
วันเคารพผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend