"บุนราคุ" ละครหุ่นเชิดแบบโบราณของญี่ปุ่น ไปเยี่ยมชมโรงละครบุนราคุแห่งชาติและเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของบุนราคุ!

บุนราคุ (文楽 / Bunraku) ซึ่งสามารถมองเห็นได้ที่โรงละครบุนราคุแห่งชาติ (国立文楽劇場 / National Bunraku Theater) และในโรงละครอื่น ๆ ค่ะ เป็นละครหุ่นกระบอกแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมที่ถูกตัดสินรูปแบบตั้งแต่ในช่วงสมัยเอโดะ ศิลปะของการเล่าเรื่องด้วยตุ๊กตาที่สวมชุดกิโมโนซึ่งเชิดประกอบดนตรีนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนในรายการมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกในปี 2009 ในบทความนี้เราจะแนะนำบุนราคุในลักษณะที่เข้าใจง่าย

ละครหุ่นเชิดบุนราคุที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ คือ? มาดูประวัติความเป็นมาจนถึงปัจจุบันกัน

ละครหุ่นเชิดบุนราคุที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ คือ? มาดูประวัติความเป็นมาจนถึงปัจจุบันกัน

บุนราคุ เป็นการเชิดหุ่นขับลำนำซึ่งเรียกว่า นินเกียวโจรูริ (人形浄瑠璃 / Ningyo Joruri) ประเภทหนึ่ง หรือการเล่าเรื่องด้วยการเชิดหุ่นพร้อมกับการเล่นพิณสามสายชามิเซ็น เริ่มต้นในศตวรรษที่ 17 เมื่อ ทาเกะโมโตะ กิดายู (竹本義太夫 / Takemoto Gidayu) นักขับลำนำที่มีชื่อเสียง ซึ่งผนวกการขับลำนำที่เรียกว่าโจรูริ (浄瑠璃 / Joruri) แบบปกติกับหุ่นเชิดเข้าด้วยกัน กิดายูบูชิ (義太夫節 / Gidayu-bushi) นั้นเป็นการขับลำนำโจรูริประเภทหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจาก ทาเกะโมโตะ กิดายู และมีความโดเด่นด้วยสไตล์การร้องเพลงที่เป็นเอกลักษณ์พร้อมกับเสียงพิณชามีเซ็น นินเกียวโจรุริซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าคาบูกิอยู่ช่วงหนึ่งนั้น มีคณะละครต่าง ๆ ที่พบกับช่วงขึ้นและลงของความนิยมมากมาย และในตอนท้ายของสมัยเอโดะ (幕末 / บาคุมัตสึ ช่วงสิ้นสุดรัฐบาลสำเร็จราชการ) คณะอุเอะมูระบุนราคุเคน (植村文楽軒 / Uemura Bunraku-ken) ได้กลายเป็นหนึ่งในคณะที่โดดเด่นที่สุดค่ะ ดังนั้น ละครหุ่นเชิดบุนราคุจึงกลายเป็นคำพ้องกับคำว่านินเกียวโจรุริ หลังจากพบกับช่วงรุ่งเรืองและช่วงตกต่ำ ปัจจุบันบุนราคุได้ก่อร่างสร้างตัวเองให้เป็นศิลปะการแสดงระดับโลกค่ะ

บุนราคุ ละครหุ่นเชิดที่รวมเอาสามสิ่งเข้าด้วยกัน

บุนราคุ ละครหุ่นเชิดที่รวมเอาสามสิ่งเข้าด้วยกัน

บุนราคุเป็นการแสดงที่ประกอบโดยกลุ่มคนสามส่วน อันได้แก่ ทายู (太夫 / Tayu นักขับลำนำ นักขำกลอน) ชามิเซ็น (三味線 / Shamisen พิณสามสายแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น) และ นินเกียวสึไค (人形遣い / Ningyo-Tsukai นักเชิดหุ่น) ทายูซึ่งเป็นหนึ่งในนั้นก็มีหน้าที่ที่จะพากษ์เสียงเล่าเรื่องราวของบททุกบทที่ปรากฏในเรื่องราวตามเพลงกิดายูบุชิ เมื่อทายูเล่าเรื่องราว ความเป็นมาของเรื่องราวและอารมณ์ของตัวละครทุกเพศทุกวัยก็จะถ่ายทอดออกมาได้อย่างน่าจับใจเลยเชียวแหล่ะค่ะ ชามิเซนก็จะแสดงอารมณ์และบรรยากาศของเรื่องราวเสริมไปพร้อมกับทายู โดยทั่วไปแล้วจะใช้ชามิเซนที่มีคอหนากว่าปกติซึ่งให้เสียงที่ลึกและหนักแน่นที่วางอารมณ์ให้กับฉากและแสดงออกถึงความรู้สึกของตัวละครค่ะ

และผู้ที่ทำหน้าที่เชิดหุ่นก็คือนักเชิดหุ่นค่ะ "โอโมสึไค" (主遣い / Omo-zukai คนเชิดหลัก) เป็นผู้เชิดหุ่นหลักที่คอยเชิดส่วนมือขวากับศีรษะ และยังให้สัญญาณกับ "ฮิดาริสึไค" (左遣い / Hidari-zukai) ซึ่งจะคอยเชิดส่วนมือซ้ายและ "อาชิสึไค" (足遣い / Ashi-zukai) ซึ่งเชิดส่วนขาเพื่อเชิดหุ่นให้พร้อมเพรียงกันโดยรวมค่ะ เทคนิคนี้ทำให้หุ่นเชิดเคลื่อนราวกับว่ามีชีวิตขึ้นมาจริง ๆ ค่ะ

ตุ๊กตาหุ่นเชิดที่ใช้ในบุนราคุ

ตุ๊กตาหุ่นเชิดที่ใช้ในบุนราคุ

หุ่นเชิดนั้นสามารถแยกออกเป็นส่วนต่าง ๆ อันได้แก่ศีรษะ แขน ขา ลำตัว เครื่องแต่งกาย และวิกผมค่ะ ดังนั้นจึงสามารถให้หุ่นตัวเดียวแสดงบทบาทที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงได้เพียงแค่แต่งหน้าใหม่ รวมถึงเปลี่ยนชุดใหม่ไปตามบทบาท กิโมโนในเครื่องแต่งกายหุ่นจะมีรูที่ด้านหลังและนักเชิดหุ่นสามารถสอดมือเข้าไปในรูนี้และทำการเชิดหุ่นได้ บุนราคุนั้นมีความโดดเด่นจากวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อทำให้หุ่นเชิดดูสมจริงราวกับมีชีวิตค่ะ

การแสดงหลักของละครหุ่นเชิด "บุนราคุ" ซึ่งสามารถไปชมได้ที่โรงละครบุนราคุแห่งชาติ

การแสดงหลักของละครหุ่นเชิด

ละครในบุนราคุส่วนใหญ่แต่งขึ้นในสมัยเอโดะค่ะ ละครแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ ละครที่แสดงถึงเรื่องราวในช่วงเวลาตั้งแต่สมัยนาระถึงสมัยเซ็งโกคุ และละครที่แสดงถึงเรื่องราวในช่วงเวลาเดียวกันกับตอนที่ละครถูกแต่งค่ะ ผลงานชิ้นเอกที่สำคัญสามชิ้น ได้แก่ "สุกาวาระเด็นจุเตะนาราอิคากามิ" (菅原伝授手習鑑 / Sugawara Denju Tenarai-kagami) "โยชิตสึเนะเซ็มบงซากุะ" (義経千本桜 / Yoshitsune Senbon-zakura) และ "คานาเดะฮอนโจชินกุระ" (仮名手本忠臣蔵 / Kanade Honchu Shingura) ค่ะ

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend