ถ้าเจอฝนตกหนักระหว่างที่อยู่ที่ญี่ปุ่น ควรจะทำอย่างไร!?

  • 29 มีนาคม 2022
  • Claire
  • Mon

ถ้าเจอฝนตกหนักระหว่างที่อยู่ที่ญี่ปุ่น ควรจะทำอย่างไร!?

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีฝนตกชุกมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝนมักจะตกในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล โดยช่วงเปลี่ยนจากฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูร้อนจะเรียกว่า สึยุ (梅雨) ช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูใบไม้ร่วงจะเรียก อาคิซาเมะ (秋雨) และแม้กระทั่งในช่วงพายุไต้ฝุ่นก็มีฝนตกเช่นกัน

นอกจากนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฝนตกหนักเป็นประวัติการณ์ก็เกิดขึ้นบ่อยอันเนื่องจากสภาพอากาศไม่ปกติ

ครั้งนี้เราเลยอยากจะมาแนะนำเกี่ยวกับฟ้าฝนในญี่ปุ่นค่ะ นอกจากนี้เรายังจะแนะนำว่าควรทำอย่างไรหากมีการเตือนฝนตกหนักระหว่างที่มาเที่ยว ณ ประเทศญี่ปุ่น ติดตามอ่านกันนะคะ!

ปริมาณน้ำฝนต่อปีในญี่ปุ่นสูงประมาณสองเท่าของค่าเฉลี่ยโลก!

ปริมาณน้ำฝนต่อปีในญี่ปุ่นสูงประมาณสองเท่าของค่าเฉลี่ยโลก!

ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในแถบตะวันออกของทวีปเอเชีย ในเขตมรสุมซึ่งเป็นพื้นที่ฝนตก จึงเป็นประเทศที่มีฝนตกมาก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีคือ 1718 มม. ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยโลก (880 มม.) เกือบสองเท่า!

ปริมาณน้ำฝนนี้จะผันผวนอย่างมากในแต่ละฤดูกาล และส่วนใหญ่จะหนาแน่นมากในฤดูฝนและฤดูไต้ฝุ่น จากการสำรวจเป็นระยะเวลากว่า 120 ปี (1901-2020) ตาม 51 สถานีตรวจวัดในญี่ปุ่น จำนวนวันที่มีฝนตกหนักต่อวัน 100 มม. ขึ้นไป และ 200 มม. ขึ้นไป ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดช่วงที่ทำการสำรวจ อนึ่ง จำนวนฝนตกหนักที่เกิดขึ้นนั้นแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละปี และความเสียหายที่เกิดจากฝนตกหนักเป็นประวัติการณ์อันเนื่องมาจากแนวปะทะเมฆฤดูฝนและการเกิดเมฆคิวมูโลนิมบัส (เมฆฝนที่พัฒนาเป็นเมฆฝนแล้ว) นั้นก็ไม่น้อยเลยเชียว

ภัยพิบัติที่เกิดจากฝนตกหนักและฝนถล่มก็เพิ่มขึ้นทุกปี

ภัยพิบัติที่เกิดจากฝนตกหนักและฝนถล่มก็เพิ่มขึ้นทุกปี

ในเดือนตุลาคม 2019 พายุไต้ฝุ่นหมายเลข 19 ได้ก่อให้เกิดน้ำท่วมแม่น้ำในภูมิภาคคันโตและโทโฮคุ และในเดือนกรกฎาคม 2020 เกิดฝนตกหนักเป็นประวัติการณ์ในจังหวัดคุมาโมโตะ ในปี ค.ศ. 2021 เกิดภัยพิบัติดินหินถล่มจากภูเขาอิสุในอำเภออิตามิอันเนื่องจากฝนถล่ม และงานฟื้นฟูความเสียหายก็ยังคงดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เมื่อมองในแง่นี้ ก็จะเห็นว่ามีข่าวมากมายเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากฝนตกหนักในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเลยค่ะ

เนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความถี่ของฝนตกหนักและพายุฝนไล่ช้างจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันจำนวนวันที่แทบไม่มีฝนตกเลยก็เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนวันที่ฝนตกก็ทวีรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ

ภัยพิบัติรองที่เกิดจากฝนตกหนัก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าฝนตกหนักและฝนถล่มเป็นสิ่งที่ต้องระวังในขณะที่เกิดฝนตก แต่ก็ยังอาจทำให้เกิดภัยพิบัติรองตามมาได้ด้วย เช่น ดินถล่ม ดังนั้นอย่าหยุดระวังแม้หลังจากที่ฝนหยุดแล้วก็ตาม จากนี้ไป เราจะแนะนำเกี่ยวกับเรื่องอุทกภัยและภัยพิบัติดินโคลนถล่มโดยสังเขป

ภัยพิบัติจากดินโคลนถล่ม

ภัยพิบัติจากดินโคลนถล่ม

ภัยพิบัติจากดินโคลนถล่มนั้น โดยทั่วไปเป็นที่รู้จักกันมากในบรรดาความเสียหายรองที่เกิดจากฝนตกหนัก เพื่อป้องกันตัวเองจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับดินโคลนถล่ม ควรตรวจสอบว่าที่อยู่อาศัยของคุณเป็น "พื้นที่อันตรายจากภัยพิบัติดินโคลนถล่ม" หรือไม่ ให้ความสนใจกับข้อมูลคำเตือนภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับดินโคลนถล่มเมื่อฝนเริ่มตก และอพยพก่อนหากมีการประกาศด้วยค่ะ

ภูเขาถล่ม (崖崩れ / Gakekuzure)

ความชื้นที่ซึมเข้าสู่พื้นดินทำให้ความเสียดทานของมวลดินอ่อนลง และดินและทรายและหินบนทางลาดชันก็อาจพังทลายลงอย่างกะทันหันเนื่องจากฝนตกหรือแผ่นดินไหว เกิดรอยแตกบนหน้าผา อาจมีก้อนกรวดตกลงมา มีน้ำที่ผุดจากหน้าผา น้ำที่ผุดกลายเป็นน้ำโคลน และมีดินถล่มจากทางลาด ก็เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าของภูเขาถล่มค่ะ

แผ่นดินถล่ม (地すべり / Jisuberi)

พื้นผิวลาดชันบางส่วนหรือส่วนใหญ่ค่อย ๆ เคลื่อนตัวไหลลงมาตามทางลาดชันอันเนื่องจากอิทธิพลของน้ำใต้ดิน สัญญาณเตือนล่วงหน้าก็ได้แก่การที่มีเสียงดังกึกก้องของพื้นดิน เสียงก้องจากภูเขา เกิดรอยแตกและเกิดรอยแยกแบบขั้นบันได และน้ำที่ไหลออกมาจากหน้าผาและเนินลาด หากพบสัญญาณเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดดินถล่มค่ะ

โคลนไหล (土石流 / Dosekiryu)

หิน ดิน และทรายในภูเขาและหุบเขาที่มีน้ำมากอันเนื่องจากมีฝนตกชุกและฝนตกหนัก และถูกพัดพาไปตามแม่น้ำพร้อมกัน ให้ระวังหากสังเกตว่ามีเสียงดังกึกก้องจากแม่น้ำ น้ำในแม่น้ำกลายเป็นโคลนฉับพลัน ได้กลิ่นดินเน่า หรือปรากฏการณ์ที่ระดับน้ำในแม่น้ำลดลงรวดเร็วทั้งที่ฝนยังคงตกต่อเนื่อง

อุทกภัย

อุทกภัย

เป็นภัยพิบัติที่อาจทำให้เกิดการกัดเซาะและการพังทลายของเขื่อนและน้ำในแม่น้ำล้นตลิ่งอันเนื่องมาจากปริมาณน้ำในแม่น้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติที่เกิดจากฝนตกหนัก ควรให้ความสนใจกับการเตือนน้ำท่วมโดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น โดยเฉพาะข้อมูลเตือนน้ำท่วมแม่น้ำ 〇〇 (แม่น้ำใกล้เคียง) และอื่น ๆ ค่ะ

ความเสียหายจากน้ำท่วม

ความเสียหายจากน้ำท่วม

เป็นภัยพิบัติที่การระบายน้ำไม่สามารถเกิดขึ้นได้ทันเท่ากับการเพิ่มขึ้นของน้ำเหนือผิวดินเนื่องจากฝนตกหนัก จนเกิดการเอ่อล้นคลองชลประทาน คูน้ำเสีย ฯลฯ และก่อให้เกิดน้ำท่วม บ้านและทุ่งนาถูกจมอยู่ใต้น้ำ

ควรอพยพทันทีเมื่อมีคำเตือนพิเศษฝนตกหนักและระดับการแจ้งเตือน "ระดับ 4"

ควรอพยพทันทีเมื่อมีคำเตือนพิเศษฝนตกหนักและระดับการแจ้งเตือน

มีระดับการแจ้งเตือน 5 ระดับ โดยอาศัยจากข้อมูลสภาพอากาศ ความเสี่ยงจากภัยพิบัติและแนวทางการอพยพ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าใจได้โดยสัญชาตญาณ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2021 ได้มีการแก้ไขระดับการแจ้งเตือนใหม่และแต่ละระดับการแจ้งเตือนและแนวทางที่ผู้อยู่อาศัยจะต้องดำเนินการมีดังนี้ค่ะ

ระดับ 1 (ข้อมูลการเตือนล่วงหน้า):

เมื่อคาดว่าจะเกิดปรากฏการณ์ระดับการเตือนภัยล่วงหน้า 5 วัน จะถูกประกาศเป็น "ข้อมูลการเตือนล่วงหน้า (ความเป็นไปได้ว่าจะมีระดับการเตือนภัย)" โดยมีความเป็นไปได้อยู่ 2 ขั้น ได้แก่ [สูง] และ [ปานกลาง]

  • สิ่งที่ควรทำ: เสริมสร้างการเตรียมพร้อมสำหรับกรณีที่เกิดภัยพิบัติ

ระดับ 2 (แจ้งเตือนฝนตกหนัก น้ำท่วม น้ำขึ้นสูง):

มีการประกาศพื้นที่เสี่ยง (สีเหลือง) และคำเตือนฝนตกหนัก

  • สิ่งที่ควรทำ: ยืนยันแนวทางการอพยพด้วยตัวคุณเอง ยืนยันความเสี่ยงของภัยพิบัติที่บ้าน ฯลฯ โดยใช้แผนที่พื้นที่เสี่ยงอันตราย ฯลฯ และยืนยันวิธีการหาข้อมูลเกี่ยวกับการอพยพอีกครั้ง

ระดับ 3 (การอพยพผู้สูงอายุ):

มีการประกาศพื้นที่เสี่ยง (สีแดง) คำเตือนฝนตกหนัก (ภัยพิบัติจากดินโคลนถล่ม) คำเตือนน้ำท่วม ข้อมูลการเตือนน้ำล้นตลิ่ง ฯลฯ

  • สิ่งที่ควรทำ: ผู้สูงอายุต้องอพยพออกจากสถานที่เสี่ยงอันตราย ผู้ที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุก็ควรเริ่มละทิ้งกิจวัตรตามปกติ เตรียมพร้อมสำหรับการอพยพ และทำการอพยพตามความสมัครใจตามที่จำเป็น

ระดับ 4 (คำสั่งอพยพ):

มีการประกาศพื้นที่เสี่ยง (สีม่วง) ข้อมูลการเตือนภัยพิบัติจากดินโคลนถล่ม ข้อมูลอันตรายจากน้ำล้นตลิ่ง การเตือนน้ำขึ้นสูงเฉียบพลัน การเตือนน้ำขึ้นนสูงเฉียบพลันพิเศษ ฯลฯ

  • สิ่งที่ควรทำ: อพยพทุกคนออกจากสถานที่อันตราย

ระดับ 5 (หาความปลอดภัยฉุกเฉิน):

มีการประกาศพื้นที่เสี่ยง (สีดำ) ข้อมูลพิเศษฝนตกหนักและข้อมูลอุทกภัย

  • สิ่งที่ควรทำ: มีอันตรายถึงชีวิต หาจุดปลอดภัยโดยด่วน! เป็นสถานการณ์ที่อันตรายถึงชีวิตเนื่องจากการอพยพอย่างปลอดภัยอาจไม่สามารถทำได้อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับการแจ้งเตือนระดับ 5 เป็นการเตือนว่าภัยพิบัติได้เกิดขึ้นแล้วหรือสถานการณ์ใกล้เคียงจะเกิด อาจสายเกินไปที่จะอพยพหลังจากประกาศ ดังนั้นโปรดอพยพทันทีที่มีการแจ้งเตือนระดับ 4

ควรทำอย่างไรถ้ามีพยากรณ์เช่นฝนตกหนักออกมาระหว่างการไปเที่ยว

ควรทำอย่างไรถ้ามีพยากรณ์เช่นฝนตกหนักออกมาระหว่างการไปเที่ยว

หากพบสภาพอากาศเลวร้ายระหว่างการเดินทางไปญี่ปุ่น คุณต้องการตรวจสอบว่าตำแหน่งปัจจุบันของคุณปลอดภัยหรือไม่ หรือบริเวณนั้นมีการเตือนภัยหรือไม่ นอกเหนือจากการตรวจสอบพยากรณ์อากาศแล้ว ให้ตรวจสอบการเตือนภัยและคำเตือนสภาพอากาศบนเว็บไซต์ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น นอกจากนั้น คุณยังสามารถดาวน์โหลดแอปชื่อ "Safety tips" ได้อีกด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนญี่ปุ่นสามารถเดินทางได้อย่างสบายใจ แอพนี้สามารถแจ้งเตือนแบบส่งคำเตือนให้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวและฝนตกหนักได้ และสามารถรวบรวมข้อมูลวิธีการอพยพและการ์ดสื่อสารที่ใช้ระหว่างทำการอพยพ จนถึงข้อมูลที่จำเป็นในกรณีเกิดภัยพิบัติได้ นอกจากนี้ยังรองรับ 15 ภาษา ดังนั้นการดาวน์โหลดล่วงหน้าก็ช่วยให้อุ่นใจค่ะ ขอแนะนำให้สอบถามที่พักเกี่ยวกับสภาพอากาศในปัจจุบันและข้อมูลการอพยพ เช่น ที่พักพิงสำหรับการอพยพในท้องถิ่น

นอกจากนี้ โปรดใช้ความระมัดระวังหากพื้นที่ที่คุณต้องการไปเป็นพื้นที่ภัยพิบัติหรือพื้นที่ที่มีสัญญาณเตือนภัย อย่าลืมค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งและสิ่งอำนวยความสะดวกไปยังจุดหมายปลายทางของคุณล่วงหน้า และติดต่อบริษัทขนส่งแต่ละแห่งหรือสถานอำนวยความสะดวกนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือต้องรู้ล่วงหน้าถึงวิธีการใช้ข้อมูลวิธีการอพยพและข้อมูลด้านความปลอดภัยให้เป็นประโยชน์ค่ะ

ก่อนออกเดินทาง ให้ค้นหาเว็บไซต์พอร์ทัลการป้องกันภัยพิบัติของกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค คมนาคม และการท่องเที่ยว เพื่อดูข้อมูลการป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ จดบันทึกสถานที่ต่าง ๆ ที่แนะนำ เตรียมพร้อม และเพลิดเพลินกับการเดินทางไปญี่ปุ่นของคุณอย่างอุ่นใจนะคะ

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend